ERP จึงถือกำเนิดขึ้น โดยจุดประสงค์หลักของ ERP คือเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้การจัดการและการวางแผนในบริษัท เป็นระบบระเบียบมากขึ้น โดย ERP จะรวบรวมข้อมูลสำคัญต่าง ๆ อาทิ อุปสงค์ อุปทาน ระบบบัญชี ระบบคลังสินค้า หรือแม้กระทั่งข้อมูลฝ่ายบุคคคล มาประมวลผลเพื่อให้แต่ละหน่วยงานในบริษัททำงานด้วยกันง่ายขึ้น ปรึกษาการใช้โปรแกรม erp และวิธีโปรโมทธุรกิจที่นี่
erp คืออะไร
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning คือการวางแผนทรัพยากรขององค์กร หากแปลอย่างตรงตัว เป็นระบบที่ถูกคิดค้นเพื่อจัดสรร บริหารข้อมูลของแต่ละหน่วยงานในองค์กร ให้การประมวลผลข้อมูลแต่ละหน่วยงานนั้นออกมาเข้าใจง่าย ระบบ erp สามารถช่วยดึงข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลมาใช้ต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
erp ช่วยแก้ปัญหาธุรกิจในด้านใด
การทำธุรกิจก็คือการบริหารองค์กรหรือบริษัทอย่างหนึ่ง จำเป็นต้องมีหน่วยงานหลาย ๆ แผนก ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบัญชี ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายนำเสนอ หรืออื่น ๆ อีกมากมาย แต่ละหน่วยงานก็มีจะมีการใช้โปรแกรมหรือการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยไม่เหมือนกัน
ERP จึงเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ โดยที่จะนำข้อมูลสำคัญของแต่ละหน่วยงานมาจัดเก็บเป็นไฟล์สกุลเดียวกัน เพื่อที่เวลาดึงข้อมูลมาใช้ จะง่ายและมีประสิทธิภาพ ทั้งองค์กรมีชุดข้อมูลเดียวกัน erp ช่วยให้ข้อมูลของแต่ละฝ่ายเชื่อมโยงกันได้ง่าย ไม่ต้องรอเวลาแปลงไฟล์ หรือมีปัญหาการใช้โปรแกรมเฉพาะ แล้วเปิดข้อมูลหรือไฟล์นั้นไม่ได้
ระบบ erp มีการทำงานอย่างไร
ระบบ ERP นั้นเน้นแก้ปัญหาที่ภาพรวม เพราะเป็นการนำข้อมูลของแต่ละแผนกทั้งหมด มาประมวลผลและวิเคราะห์ โดยจะมีหลักการทำงานเด่น ๆ ดังต่อไปนี้
- ERP ช่วยนำเสนอภาพรวมของธุรกิจ
ERP จะทำการเชื่อมโยงระบบบัญชี การเงิน การจัดการทั้งหมดในบริษัทเพื่อประมวลผล และนำเสนอข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อองค์กร โดยที่ข้อมูลนั้นจะมีรูปแบบที่เข้าใจง่าย เหมาะที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดในการบริหารองค์กร ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดจากหลาย ๆ ด้านได้
- ERP มีระบบที่แม่นยำ ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา
ไม่ว่าคุณจะอยู่ส่วนไหนบนโลก เวลาต่างกันเท่าไหร่ erp ก็สามารถเชื่อมต่อข้อมูลล่าสุดของบริษัทได้ทันที ขอแค่มีอินเตอร์เน็ต เพียงเท่านี้ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลและอัพเดตข่าวสารในบริษัทได้อย่างทันท่วงที ไม่ต้องห่วงเลยว่าจะเจรจาธุรกิจไม่รู้เรื่อง ในกรณีที่ข้อมูลเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน
- ERP ใช้งานง่าย แก้ปัญหาข้อมูลซ้ำ มีความปลอดภัยสูง
เนื่องจาก ERP เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ทุกคนในองค์กรใช้งานได้ง่าย มีการอัพเดตข้อมูล แบบเรียลไทม์อยู่เสมอ จึงแก้ปัญหาการกรอกข้อมูลซ้ำ หรือการสร้างข้อมูลซ้ำ ทำให้เปลืองพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ที่สำคัญยังสามารถป้องกันการฉ้อโกง ยักยอกเงินภายในบริษัท หรือข้อมูลรั่วไหลได้ดีอีกด้วย
เพราะระบบ erp สามารถจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงของแต่ละฝ่าย แต่ละบุคคล และแต่ละตำแหน่งได้ ทั้งยังสามารถตรวจสอบประวัติการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ประวัติการเข้าใช้งานได้อีกด้วย
ส่วนประกอบของระบบ erp
ส่วนประกอบหลักของ ERP มีอยู่ทั้งหมด 5 ระบบ ได้แก่
ระบบการจัดการข้อมูล
เพื่อความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ERP จึงนำข้อมูลสำคัญในระบบมาย่อยให้ทุกฝ่าย ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายและทำให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสินค้า บุคคล ทรัพยากรต่าง ๆ รวมถึงคำนวณ ค่าเสื่อม ค่าเสียเวลา สรุปออกมาเป็นแผนผัง กราฟ เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ตัดสินใจ
ระบบด้านการเงิน
ERP system มีการรวบรวมข้อมูลการซื้อขาย จากแผนกต่าง ๆ ในบริษัทไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายขาย ฝ่ายบริหาร ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบริษัท ระบบจะทำการคำนวนออกมาเป็นตัวเลขที่แม่นยำ และสรุปออกมาเป็นแผนผังและกราฟ เช่นเดียวกันกับระบบจัดการข้อมูล
ระบบการจัดซื้อ
ระบบ erp ระบบนี้จะช่วยให้การบันทึกข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย จำนวนสินค้า ใบเสนอประวัติการซื้อขายกับลูกค้า การทำใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ เป็นเรื่องง่ายขึ้น รวมทั้งยังเชื่อมข้อมูลกับฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ทำให้ลดโอกาสการสร้างช้อมูลซ้ำ ช่วยป้องกันการปลอมแปลงตัวเลขในใบเสนอราคา หรือใบแจ้งหนี้ได้อีกด้วย
ระบบทรัพยากรบุคคล
หากคุณมองว่าการเก็บข้อมูลของฝ่ายบุคคลเป็นเรื่องยาก ระบบ ERP จะช่วยให้คุณจัดประเภท ตำแหน่ง ความสามารถและผลประเมินการทำงานของแต่ละบุคคลได้ นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดแผนการสอนงาน รวมถึงเก็บสถิติการเข้างาน การลา และคำนวนงบประมาณของฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่อาจะเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพที่ดีในการทำงานของบุคลากรในบริษัท
ระบบฝ่ายบริหาร
แน่นอนว่าสำหรับฝ่ายบริหาร การมีระบบ erp จะยิ่งทำให้การโปรโมทธุรกิจ การวางแผนงบประมาณ การนำเสนอผลงานและการวางแผนกลยุทธ์แต่ละปีของบริษัทเป็นเรื่องง่ายขึ้น เพราะระบบ erp จะช่วยสรุปข้อมูลทั้งด้านผลงาน ด้านตัวเลข ทั้งยังดึงข้อมูลของแต่ละฝ่าย แต่ละแผนก มาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่สรุปแล้ว เพื่อตรวจสอบความถูกต้องได้อีกด้วย จึงช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเภทของระบบ erp
ระบบ erp มี 2 ประเภท แบ่งเป็น Cloud กับ On-Premise
erp ประเภท Cloud
ERP แบบ Cloud คือระบบ erp ที่ถูกติดตั้งในรูปแบบ easy access หรือก็คือระบบ erp แบบซอฟต์แวร์ (erp software) คือการติดตั้งบนคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ (Cloud Server) เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล โดยจะเข้าระบบผ่านแอพพลิเคชั่นในมือถือ เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ต หรือสัญญาณ 4G/5G ก็เข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งจะมีข้อเสียตรงที่หากไม่มีอินเตอร์เน็ตก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
erp ประเภท On-Premise
ERP แบบ On-Premise คือระบบ erp ที่ถูกติดตั้งไว้บนอุปกรณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ใดก็ตาม เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัท หรือก็คือระบบ erp แบบฮาร์ดต์แวร์ (erp hardware) ซึ่งจะปลอดภัยยิ่งขึ้นกว่าระบบ Cloud เพราะโอกาสข้อมูลรั่วไหลมีน้อยกว่า แต่ก็จะเข้าถึงข้อมูลยากขึ้น หากไม่มีอุปกรณ์ของบริษัทหรืออุปกรณ์ที่ทำการติดตั้ง erp แบบ On-Premise
สรุป
การใช้ระบบ erp ในการทำงานมีประโยชน์ต่อองค์กรมาก เพราะจะช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้กับธุรกิจของคุณ เพิ่มทั้งประสิทธิภาพ ความมั่นใจ สร้างระบบที่ดีในการทำงาน แต่การจะใช้ระบบ erp นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดของธุรกิจองค์กรว่า erp แบบไหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ ปัญหาใดที่พบบ่อยในธุรกิจ
หากคุณไม่มั่นใจว่าควรใช้ erp แบบไหน สามารถปรึกษาเราได้ที่ Fastcommerz ! เพราะนอกจากบริการปรึกษาเรื่องระบบ erp แล้ว ที่ Fastcommerz ยังมีบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Sale Page หรืออย่างอื่นอีกมากมาย
หากสนใจแวะมาปรึกษาหรือสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ที่ที่อยู่ข้างล่างนี้ได้เลย
ที่ตั้ง: 573/104
รามคำแหง 39
แขวง พลับพลา เขต วังทองหลาง
กรุงเทพมหานคร 10310
ติดต่อสอบถาม:
084-509-5545
061-924-7449
อีเมล: fastcommerz@gmail.com