ช่องทางโฆษณาออนไลน์เป็นช่องทางที่มีอิทธิพล มีคนเสพสื่อจากช่องทางออนไลน์เป็นจำนวนมาก ดังนั้นการซื้อพื้นที่โฆษณาบนช่องทางออนไลน์จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการหลายเจ้าต่างเลือกใช้ เพื่อการันตีว่าจะมีคนจำนวนมากมองเห็นสื่อโฆษณาที่เราเตรียมไว้ โดยงบประมาณสำหรับซื้อพื้นที่โฆษณาไม่ได้มีตายตัว ดังนั้นจึงมีรูปแบบการกำหนดราคาโฆษณาดิจิทัล เพื่อให้สามารถชี้วัดผลของการโฆษณาออนไลน์ได้ง่ายขึ้น
รูปแบบการกำหนดราคาโฆษณาดิจิทัลก็มีอยู่ด้วยกันหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น CPC, CPA และ CPM โดยวิธีการคำนวณของแต่ละตัวก็แตกต่างกัน โดยในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่า CPM คืออะไร และจะสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
CPM คืออะไร
CPM ย่อมาจาก Cost Per Miles หรือที่คนอาจจะรู้จักในอีกชื่อว่า Cost Per Impression โดย CPM คือ ต้นทุนการแสดงผลของโฆษณาจำนวน 1,000 ครั้ง โดยเน้นไปที่เรื่องการมองเห็นซึ่งจะนับจากจำนวนครั้งที่โฆษณาปรากฏขึ้นมา โดยการนับจำนวน CPM ไม่จำเป็นที่ผู้ที่มองเห็นจะต้องเข้าไปคลิกโฆษณา เพียงแค่มองเห็นโฆษณาก็จะนับเป็น 1 impression
ซึ่ง CPM นั้นเหมาะสำหรับธุรกิจที่เน้นในเรื่องสร้างการรับรู้ให้คนจำนวนมาก สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ควรเป็นสินค้าที่มีความสำคัญ คุณประโยชน์ของมันเพียงพอที่จะขายตนเองได้ เพียงแค่ทำให้คนรู้จักมากที่สุด เพื่อไปเป็นตัวเลือกให้ลูกค้านำไปตัดสินใจที่จะซื้อ นำไปสู่ยอดขายในที่สุด
CPM มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับการยิงแอด
จากที่กล่าวไว้ข้างต้นถึงความสำคัญของช่องทางออนไลน์ ช่องทางนี้มีประโยชน์ต่อนักการตลาดเป็นอย่างมาก เพราะมันสามารถวัดผลลัพธ์ได้ชัดเจน สามารถระบุกลุ่มเป้าหมาย และเป้าหมายในการทำโฆษณาว่าต้องการเน้นย้ำในเรื่องอะไร การตลาดช่องทางออนไลน์มีเป้าหมายที่โดดเด่น คือ การโฆษณาทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากรู้จักแบรนด์ รู้จักบริษัท รวมถึงเพิ่มอีกช่องทางที่จะสร้างยอดขายได้
ซึ่ง CPM นั้นจะเน้นย้ำในเรื่องการเพิ่มการรับรู้ สร้างการมองเห็น โดยให้คนเห็นโฆษณา การยิงแอด คือ การลงงบประมาณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดออนไลน์ให้ดีมากยิ่งขึ้น หากการยิงแอดแบบ CPM จะช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยสามารถการันตีผลลัพธ์ได้อย่างแน่นอนว่าจะมีคนเห็นโฆษณาของเรา โดยค่าใช้จ่ายจะจะถูกคิดหลังจากโฆษณามีการแสดงผลครบ 1,000 ครั้งแล้ว
ข้อแตกต่างระหว่าง CPM กับ CPA
รูปแบบการคิดค่าโฆษณาบนช่องทางออนไลน์นอกจาก CPM แล้วก็จะมี CPA โดย CPA ย่อมาจาก Cost Per Acquisition หรือ Cost Per Action คืออีกรูปแบบการคิดค่าใช้จ่ายในการโฆษณา โดยใช้เกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่ายนั้นก็จะตรงตามชื่อ จะคิดจาก Action ที่ได้ตั้งค่าไว้ ไม่ว่าจะเป็นการกดสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์, การสมัครสมาชิก
ซึ่ง CPA นั้นจะเคาะค่าใช้จ่ายในทุก 1 Action ซึ่งต่างจาก CPM ที่เคาะทุก ๆ 1,000 การแสดงผลของโฆษณา
ข้อแตกต่างระหว่าง CPM กับ CPC
นอกเหนือจาก CPM และ CPA แล้ว ยังมีอีกรูปแบบในการค่าใช้จ่ายโฆษณานั่นก็คือ CPC ซึ่งย่อมาจาก Cost Per Click ซึ่งชื่อมันก็ตรงตามตัวเช่นกัน หลักเกณฑ์ในการคิดค่าโฆษณาจะคิดจากการคลิกเข้ามาดูโฆษณา โดยจะเหมือนกับ CPA ที่เคาะค่าใช้จ่ายในทุก 1 Click ที่เข้ามาดูโฆษณา
ดังนั้นหากสรุปข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่าง CPM, CPA, CPC ก็มีอยู่ด้วยกัน 2 ข้อใหญ่ ๆ ดังนี้
- การคิดค่าใช้จ่าย : CPM เคาะในทุก 1,000 การแสดงผล แต่ CPC และ CPA เคาะในทุก 1 ครั้ง
- เป้าหมาย : เป้าหมายของ CPM คือการมองเห็น เพิ่มการรับรู้ ในขณะที่ CPC และ CPA เน้นให้คนทำตามเงื่อนไขที่ตนตั้งไว้ ต้องการ Action อะไรสักอย่างที่มากกว่าการมองเห็นเท่านั้น
ชนิดของการแสดงผล CPM มีอะไรบ้าง
CPM คือ การแสดงผลของโฆษณา โดยพฤติกรรมหลังจากเห็นโฆษณาของผู้บริโภคจะแยกออกได้เป็น 2 อย่าง คือ เลื่อนโฆษณาผ่านไป และการคลิกเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนั้นชนิดการแสดงผลของ CPM ก็จะแบ่งออกได้เป็นประเภทด้วยกัน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
Monetized views
ประเภทของแรกของ CPM คือ Monetized View หรือก็ยอดวิวที่มีการคลิกเข้ามาดูรายละเอียดของโฆษณาเพิ่มเติม หรือมีการหยุดเพื่อดูโฆษณาก่อน โดยไม่ได้กดข้ามทันที ซึ่งเป็นการแสดงผลที่ก่อให้เกิดรายได้ เพราะผู้บริโภคแสดงพฤติกรรมที่มีความสนใจในโฆษณา ซึ่งอาจนำไปสู่การซื้อสินค้า บริการในภายหลัง
Non-Monetized Views
ประเภทที่สองของ CPM คือ Non-Monetized View หรือยอดวิวที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งเป็นยอดวิวที่นับจากวิวที่ผู้บริโภคปัดเลื่อนผ่านโฆษณา โดยไม่ได้คลิกหรือหยุดเพื่ออ่านรายละเอียด แสดงให้เห็นว่าการแสดงผลโฆษณานี้ไม่สามารถดึงความสนใจจากผู้บริโภคได้
โดยการแยกประเภทการแสดงผลของ CPM ออกเป็น Monetized View และ Non-Monetized Views จะช่วยให้เราสามารถประเมินได้ว่าโฆษณาแบบที่กำลังทำอยู่ได้ผลลัพธ์ที่ดี ดึงความผู้สนใจผู้บริโภคได้ไหม หรือกลุ่มเป้าหมายที่เราตั้งค่าไว้ในการยิงแอดอาจไม่สนใจในสินค้า บริการของเรา อาจนำไปพิจารณาเพื่อเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถสร้างยอดขายได้
สูตรสำหรับคำนวณ CPM
เพื่อให้สามารถใช้ CPM ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องทราบวิธีการคำนวณค่าใช้จ่าย เพื่อให้สามารถประมาณการงบประมาณให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ โดย CPM มีวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับการทำโฆษณา ดังนี้
CPM x (Impression / 1,000) = ค่าใช้จ่ายสำหรับการทำโฆษณา
จากสูตรสามารถอธิบายได้ว่า หากวางงบประมาณค่าใช้จ่ายสำหรับทำโฆษณาไว้ที่ 10,000 บาท เพื่อให้แสดงโฆษณาทั้งหมด 1,000 ครั้ง หากโฆษณาได้แสดงผลออกไปแล้ว 500 ครั้ง หรือก็ค่า CPM การใช้สูตรจะออกมาเป็นค่าดังนั้น
500 x (10,000 / 1,000) = เราใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับโฆษณาไปแล้ว 5,000 บาท เหลืออีก 5,000 บาทที่ยังไม่เริ่มแสดงผล
จากสูตรการคำนวณทำให้ทราบว่าค่าใช้จ่ายสำหรับการทำ CPM จะคิดเมื่อโฆษณาแสดงผลครบ 1,000 ครั้งแล้ว ซึ่งนั่นทำให้ CPM มีจุดเด่นที่ต่างจาก CPA และ CPC คือ หากพบว่าแผนการโฆษณาที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเท่าที่ควร สามารถทำการปรับเปลี่ยนทิศทางการทำโฆษณาใหม่ เพื่อให้ใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด เรียกได้ว่า CPM เป็นวิธีการที่มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้
ธุรกิจแบบไหนที่เหมาะกับ CPM
สำหรับธุรกิจที่เหมาะสมการใช้ CPM ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น รูปแบบการคิดค่าโฆษณาแบบนี้จะเหมาะสมกับธุรกิจที่อยู่ในขั้นตอนพึ่งสร้างตัวใหม่ หรือธุรกิจที่กำลังจะเปิดตัวสินค้าใหม่ ซึ่งมีจุดประสงค์ต้องการสร้างการรับรู้ ให้คนจดจำแบรนด์ของตนได้ก่อน ยอดขายจะไม่ใช่เป้าหมายหลัก หรือจะเป็นธุรกิจที่สินค้ามีความจำเป็น สามารถขายได้ด้วยตนเอง เน้นให้คนจำแบรนด์ เพื่อให้ลูกค้าตามมาซื้อในภายหลัง
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างบ้านหรือคอนโด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งไม่ช้าหรือเร็วคนก็ต้องทำการซื้อสิ่งนี้ ดังนั้นการสร้างภาพจำให้คนนึกถึงแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจประเภทนี้ สำหรับธุรกิจประเภทอื่นก็จะมีรถยนต์ หรือขายแพกเกจท่องเที่ยว
สรุป
CPM เป็นรูปแบบการคำนวณ และคิดราคาค่าโฆษณาบนช่องทางออนไลน์ ที่จะเน้นเพิ่มการมองเห็น โดยการแสดงโฆษณาให้ผู้บริโภคได้เห็น ซึ่งสามารถจำแนกได้ว่าเป็นการมองเห็นที่มีโอกาสเกิดรายได้ หรือเป็นการมองเห็นที่ไม่เกิดรายได้ และด้วยการคิดค่าใช้จ่ายทุก 1,000 ครั้งของการแสดงผลโฆษณา ทำให้ CPM เป็นรูปแบบโฆษณาที่มีความยืดหยุ่น มีประโยชน์ต่อการทำตลาดโดยอิงตามเทรนด์ความนิยมที่เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นการยิงแอด หรือการใช้ CPM มาประยุกต์ใช้กับการยิงแอด ต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญในระดับหนึ่ง ดังนั้นการจ้างผู้เชี่ยวชาญในการช่วยทำการตลาดออนไลน์จะช่วยให้แผนการตลาดออนไลน์ได้ผลลัพธ์ที่ดี
ซึ่ง Rocket ของเราพร้อมให้บริการ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ เรามีทั้งบริการรับยิงแอด จะรูปแบบ CPM, CPA หรือ CPC เราจะเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด นอกจากนี้เรายังมีบริการรับทำ Sale Page เพื่อช่วยสร้างช่องทางขายออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ ครบวงจรในทุก ๆ ด้านเกี่ยวกับการทำการตลาดออนไลน์