Fastcommerz

Segmentation เกณฑ์แบ่งกลุ่มเป้าหมาย ค้นหาลูกค้าที่ใช่ เพิ่มกำไรเข้าแบรนด์

Market Segmentation คือ เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาด โดยแยกสัดส่วนจากกลุ่มเป้าหมาย ที่มีความน่าจะเป็นลูกค้ามากที่สุด ให้ถูกแยกออกเป็นกลุ่มลักษณะเฉพาะออกเป็น 4 กลุ่มการแบ่งส่วนตลาด คือดังนี้ กลุ่มประชาการศาตร์ (Demographic Segment) , กลุ่มพฤติกรรมศาตร์ (Behavioral Segment) , กลุ่มภูมิศาตร์ (Geographic Segment) และ กลุ่มจิตวิทยาศาตร์ (Psychographic Segment) 

ความสำคัญของ Segmentation

ความสำคัญของการใช้ส่วนแบ่งทางการตลาดคือ เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยชี้แนะให้นักการตลาดสามารถทำการค้นคว้ากลุ่มลักษณะเฉพาะ ถูกแยกเป็นสัดส่วนชัดเจน และค้นพบกลุ่มประชากรลูกค้าในสัดส่วนที่มีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มนั้น เป็นตัวกำหนดทิศทางเป้าหมายให้ทางแบรนด์ดำเนินแผนการธุรกิจบนโลกออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

Segmentation หลัก 4 ประเภท

โดยทั่วไป เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ได้แก่

1.Demographic Segmentation

 การแบ่ง Demographic Segmentation

การแบ่งส่วนตลาดโดยจัดจำแนกกลุ่มประชากรศาสตร์ (Demographic Segmentation) คือ ข้อมูลวิจัยพื้นฐานแบบทั่ว ๆ ไป สำหรับค้นคว้าลักษณะโครงสร้างพื้นฐานทางสถิติ หรือใช้ข้อมูลทางพรรณาในการศึกษารายละเอียดของตัวบุคคลอีกเช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น อายุ , รายได้ ,ขนาดครอบครัว , เพศ , อาชีพ , ระดับการศึกษา , เชื้อชาติ , สัญชาติ ศาสนา และอื่น ๆ ซึ่งการแบ่งส่วนตลาดวิธีนี้ ผู้วิจัยสามารถจำกัดการเจาะจงกลุ่มลูกค้าที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และทางชีววิทยาที่สอดคล้องกับเป้าหมายแบรนด์ไว้ เป็นแนวทางปรับพัฒนากลยุทธ์ในอนาคตได้

2. Behavioral Segmentation

 การแบ่งแบบ Behavioral Segmentation

การแบ่งส่วนตลาดโดยจัดจำแนกกลุ่มพฤติกรรมศาตร์ (Behavioral Segmentation) คือ ข้อมูลวิจัยพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่มีความเกี่ยวข้องการใช้ ค้นคว้า หรือรีวิวกับผลิตภัณฑ์และบริการภายในแบรนด์มากน้อยแค่ไหนไม่ว่าจะผ่านโลกออนไลน์หรืออฟไลน์ ยกตัวอย่างเช่น ความพึงพอใจการใช้สินค้า , การศึกษาข้อมูลตัวแบรนด์ผ่านเว็บไซต์ออนไลน์โดยดูยอด Conversion ที่ผู้บริโภคทำการปฎิสัมพันธ์บนหน้าเว็บ หรือ แม้กระทั่งอัตราการใช้งานตัวสินค้า จึงเป็นข้อมูลให้นักวิจัยทำการรวบรวม แล้วนำไปวิเคราะห์เพื่อค้นหาแนวทางปรับปรุงสินค้าบริการให้ตอบสนองแก่ผู้ใช้ ให้ได้รับประสบการณ์ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น 

3. Geographic Segmentation

การแบ่งด้วย Geographic Segmentation 

การแบ่งส่วนตลาดโดยจัดจำแนกกลุ่มภูมิศาตร์ (Geographic Segmentation) คือ ข้อมูลวิจัยศึกษากลุ่มผู้บริโภคแต่ละภูมิภาคตั้งแต่บริเวณที่อยู่ เขต พื้นที่ จังหวัด ในประเทศและต่างประเทส มีสามารถเข้าถึงสินค้าบริการของตัวแบรนด์ได้มาก-น้อยแค่ไหน โดยนักวิจัยสามารถศึกษาลักษณะพื้นฐานชุมชนแต่ละพื้นที่ เพื่อจัดรูปแบบการนำเสนอให้กับกลุ่มลูกค้าแต่ละภูมิภาคได้อย่างเหมาะสม 

4. Psychographic Segmentation

 การแบ่งแบบ Psychographic Segmentation

การแบ่งส่วนตลาดโดยจัดจำแนกกลุ่มจิตวิทยาศาตร์ (Psychographic Segmentation) คือ การตีความจิตใต้สำนึกของผู้บริโภค โดยทางนักวิจัยจะจัดทำการสำรวจตั้งแต่ วิถีชีวิต ลักษณะนิสัยเฉพาะตัวบุคคล , ทัศนคติ , ความเชื่อ หรือแม้กระทั่งค่านิยมของตัวบุคคล เพื่อเป็นข้อมูลสมมุติฐานให้ผู้ค้นคว้าทำความเข้าใจพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อของผู้บริโภค พร้อมกับเสนอแนวทางการนำเสนอสินค้าบริการให้ตรงโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ ให้ถูกดึงดูดมากที่สุด

ประโยชน์การแบ่ง Segmentation

การแบ่ง Segmentation คือ การแยกกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ รายเล็ก หรือรายย่อยตามหมวดหมู่ เพื่อให้ทางนักวิจัยเห็นรู้ลึกรายละเอียดข้อมูลของผู้บริโภคของแต่ละ Segment ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถเลือกกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะเป็นจำนวนประชากรในกลุ่มใหญ่ ไปเป็นเกณฑ์การชี้นำเป้าหมายแนวทางแบรนด์ได้อีกด้วย เนื่องจากคนกลุ่มนี้ สามารถสร้างรายได้คืนแก่ตัวธุรกิจคุณเป็นปริมาณมหาศาล

หากต้องการหาสื่อนำเสนอการขายสินค้าบริการแบบ Cross-Platform ลองใช้ Sale Page จาก Fastcomerz เว็บไซต์สำเร็จรูป มีคุณสมบัติเพิ่มยอดขายแก่กลุ่มลูกค้าแต่ละช่องทางที่ภายในช่องเดียว นำเสนอได้ โฆษณาได้ ขายสินค้าก็ได้ โดยลดภาระการทำงานของแอดมิน เพิ่มระเบียบการจัดการระบบหลังบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมปิดการขายที่จบภายใน เว็บไซต์หน้าเดียว

วิธีการเริ่มต้นการแบ่ง Segmentation ของคุณ

การหา Segmentation ที่สามารถตอบสนองการสร้างยอดขายให้กับธุรกิจของคุณ จำเป็นต้องดู 5 ปัจจัยเพื่อให้การตลาดของคุณหากลุ่มเป้าหมายได้สำเร็จ มีดังนี้

หาตลาดของคุณ (ตลาดของคุณเล็กหรือใหญ่ มีคนต้องการซื้อไหม)

การหากลุ่มเป้าหมายเพื่อมาเป็นลูกค้าในอนาคตของคุณ จะต้องคำนึงถึงเส้นทางผู้บริโภค (Costumer Journey) ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ มาพบเจอสินค้าหรือบริการแบรนด์คุณ สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหา ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างพึงพอใจ โดยการหาตลาดแบบเบื้องต้น ควรโฟกัสกลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ที่มีความต้องการซื้อสูงมากกว่าลงทุนไปเจาะจงกลุ่มเป้าหมายรายเฉพาะทีหลัง

แบ่ง Segment (ใช้ Segment ด้านบนเข้ามาช่วย)

การแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ช่วยทำให้ธุรกิจของคุณสามารถโฟกัสเป้าหมายการหากำไรกับกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังเงินซื้อสินค้าบริการของคุณมากที่สุด หลังจากแบ่ง Segment และเลือกกลุ่มที่เป็นผู้ซื้อเสร็จเรียบร้อย คุณสามารถทำการวิจัย การตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) เพื่อค้นหาช่องทางการนำเสนอสื่อแก่พวกเขาให้มาซื้อแบรนด์ของคุณได้อย่างต่อเนื่อง

เข้าใจตลาดของคุณ (หลังจากคุณเลือก Segment แล้ว อาจจะเก็บเริ่มเก็บข้อมูล หาแบบสำรวจเกี่ยวในตลาดคุณ)

ตัวแปรสำคัญในการทำ Segmentation ที่ส่งผลต่อยอดขายมากที่สุดคือ รูปแบบการนำเสนอแบรนด์ของคุณ การทำสื่อให้ถูกจริตกลุ่มเป้าหมาย คุณต้องเริ่มทำค้นคว้าเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง เพื่อให้กระบวนการสร้างคอนเทนต์มีความแม่นยำต่อกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น 

สร้างลูกค้าใน Segment คุณ (หลังจากได้ข้อมูลเกี่ยวกับ Segment ที่แน่นอนแล้ว ให้เริ่มทำตลาด)

หลังจากหากลุ่มลูกเป้าหมายใน Segment เพื่อหารากฐานการทำการตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตสูง ให้คุณใช้ข้อมูลตรงจุดนี้เป็นตัวกำหนดทิศทางการทำกลยุทธ์การทำตลาดในการนำเสนอสื่อคอนเทนต์ แคมเปญ กิจกรรม ให้ตรงโจทย์กับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่คุณเลือกได้เหมาะสมที่สุด

คอยติดตามผลตลาดของคุณ

หลังจากแบ่งปันคอนเทนต์ลงสู่ตลาดของคุณอย่างเป็นทางการ ให้คุณติดตามผลประกอบการโดยใช้เครื่องมือวัดตลาดมาชี้วัด KPI ว่าสื่อที่คุณได้ศึกษาและกรั่นกรองเป็นแคมเปญออนไลน์กับออฟไลน์ มีประสิทธิภาพการสร้างยอดขายได้มากน้อยแค่ไหน เมื่อสรุปเวลาแคมเปญเสร็จเรียบร้อย คุณสามารถนำข้อมูลส่วนนี้เป็นฐานข้อมูลประกอบการทำกลยุทธ์การตลาดครั้งต่อไป เพื่อออกแบบสื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ใกล้ชิดขึ้นอีก

การทำตลาด ใน Segment ของคุณ

การทำกลยุทธ์การตลาดจาก Segment อย่างเดียวไม่สามารถการันตีการได้กำไรได้อย่างแน่นอน เนื่องจากช่วงเวลาการปล่อยแคมเปญตัวใหม่ๆ อาจมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้ยอดขายต่ำหรือสูงตามสถานการณ์ จึงทำให้นักการตลาดทั้งหลาย ควรติดตามข่าวสารบนโลกโซเชียลตลอดเวลา โดยมีคำแนะนำ 3 ปัจจัยดังนี้

  • กระแสเทรนด์ เพราะเทรนด์บนโลกโซเชียลสามารถสร้างกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแบรนด์ของคุณได้อย่างรวดเร็ว หรือกลุ่มเป้าหมาบบางรายเขาอาจมาเป็นลูกค้าของคุณก็ได้ ดังนั้นการทำ Real-time content เป็นอาวุธที่แบรนด์ทุกเจ้าต้องพกติดตัวไว้ตลอด 
  • วิเคราะห์รายปี เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตามกระแสเทรนด์ได้ตลอดเวลา ดังนั้นธุรกิจของคุณต้องทำการค้นคว้าวิจัยความต้องการของลูกค้า ครั้งละ 1 ปีเป็นอย่างต่ำ
  • หาจุดพีคในช่วงหนึ่งปี แบรนด์ของคุณต้องมีแคมเปญชิ้นใหญ่ในการนำเสนอตลาดกลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี เพื่อชูผลิตภัณฑ์และบริการของคุณเป็นตัวสร้างยอดขายในการกอบโกยกำไรได้มากที่สุด

นอกจากนี้การค้นหา Segment ใหม่ๆ ถือเป็นโอกาสสร้างกำไรเสริมเข้าสู่แบรนด์ได้หลายช่องทาง โดยมี 4 กลยุทธ์เพิ่มลูกค้าแก่แบรนด์มากขึ้น ดังนี้

คอยดูโอกาสทางการตลาดใหม่ๆเสมอ

การหาแนวทางการตลาดใหม่ๆ มาเป็นกลยุทธ์เสริมสร้างฐานเน็ตเวิร์กให้แข็งแกร่งมากขึ้น จะช่วยทำให้ธุรกิจคุณมีรายได้ครอบคลุมทุกเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทรนด์ตลาดที่อัปเดตอยู่ตลอดเวลาบนโลกโซเชียล ช่วยทำให้นักตลาดคิดค้นคอนเทนต์สดใหม่ มีเนื้อหาชวนท้าทายมาผลิตเป็นแคมเปญเชื่อมต่อความสัมพันธ์แก่ลูกค้าปัจจุบันและกลุ่มเป้าหมายจากแพลตฟอร์มอื่นได้ดีเยี่ยม แต่ควรดูรูปแบบการนำเสนอต้อตอบสนองความต้องการแก่ผู้บริโภคอีกด้วย เพื่อให้การสื่อสารระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ไปทิศทางเดียวกัน

คอยแบ่ง Segment ลูกค้าคุณตลอดเวลา

การแบ่งกลุ่ม Segment ในการค้นหากลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าที่แท้จริงของคุณจริงๆ นับเป็นการค้นคว้าที่ยุ่งซับซ้อนเป็นอย่างมาก เพราะการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคเป็นกลุ่มๆ แบบรายบุคคล บางคนอาจมีลักษณะกลุ่ม Segment ที่มากกว่า 1 ลักษณะเป็นต้นไป จึงแนะนำว่าแบรนด์ธุรกิจควรหมั่นตรวจเช็ครายละเอียดข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายอย่างระมัดระมัง เพื่อให้ได้ผลสรุปที่มีความถูกต้อง พร้อมมีความแม่นยำสูงที่สุด 

ทำการ Research เสมอ

การคัดกรองข้อมูลกลุ่มเป้าหมายจากการทำ Segment เสร็จเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปคือการวิจัยเพื่อค้นคว้าคำตอบในการบรรลุเป้าหมายของแบรนด์ ซึ่งการจะทำให้ตัวผลงาน Research มีประสิทธิภาพต่อธุรกิจของคุณสูง จะขึ้นอยู่กับรูปแบบเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล , ความถี่สะสมข้อมูล , สมมุติฐาน , ช่องทางการได้ข้อมูล (ทั้งออนไลน์กับออฟไลน์) มีมูลค่าเพียงพอต่อการสร้างแคมเปญลงสู่ตลาดได้เข้าถึงความต้องการลูกค้ามากเท่าใด

คอยพัฒนาสินค้าคุณอยู่เสมอ

การทำ Research ในแง่ทฤษฎีเป็นผลดีของการได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำคอนเทนต์กับกลุ่มเป้าหมาย แต่อย่าลืมพัฒนาคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์ให้มีสรรพคุณการใช้งานที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคอีกด้วย เพราะหากโฟกัสงานวิจัยเกินความจำเป็น อาจทำให้ตัวสินค้ามีศักยภาพไม่ตรงตามที่แคมเปญโปรโมทผลิตภัณฑ์ได้ดังนั้นการทำ Segmentation ได้ดี ควรโฟกัสการตลาดทางด้านทฤษฎีและภาคปฎิบัติทั้งสองด้านอย่างสอดคล้อง

ปัญหาที่พบได้จากการแบ่ง Segment

จากการทำ Segment ในแบรนด์อาจพบเจอปัญหาทั่วไปหลักๆ มีดังนี้ 

กำหนดกลุ่มลูกค้าเฉพาะตัวเกินไป 

การกำหนดกลุ่มลูกค้าเฉพาะทางเป็นเรื่องดีที่ให้แบรนด์สามารถดำเนินการสร้างแคมเปญได้เจาะจง แต่ต้องดูความต้องการของกลุ่มลูกค้าจาก Segment ที่เลือกมาอย่างระวังให้ดีว่า กลุ่มเป้าหมายนี้มีความต้องการมากพอที่จะสามารถสร้างยอดขายให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ หากกลุ่มลูกค้า Segment นี้ เป็นกลุ่ม Nich Market มีจำนวนน้อย แบรนด์ควรโฟกัสกลุ่ม Segment อื่นที่มีความต้องการสูงก่อนแล้วค่อยมาทำการตลาดกลุ่มเฉพาะนี้ภายหลัง

ให้ดูอำนาจการซื้อใน Segment นั้นด้วย

การแบ่ง Segment แต่ละกลุ่มในตลาดธุรกิจของคุณ แบรนด์ควรเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อกับธุรกิจคุณได้อย่างเข้าถึงได้ มีวิธีการประเมินศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายที่มีอำนาจการซื้อ สามารถทำการค้นคว้าจากการวิจัยด้านราคาซื้อกับยอดขายโดยรวม มาวิเคราะห์ข้อมูลให้ได้ดัชนีแบบสรุป มาดำเนินคิดกลยุทธ์การตั้งราคาใหม่ ให้ไม่เกินกำลังซื้อของผู้บริโภคและไม่ขาดราคาต้นทุนของแบรนด์ด้วย

อย่ายึดอยู่กับ Segment เดียว

แบรนด์ของคุณไม่ควรใช้ Segment กลุ่มเดียวมาทำการตลาดเด็ดขาด เพราะการทำกลยุทธ์ที่โฟกัสกลุ่มเฉพาะแบบเจาะจง จะสามารถขายได้กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มเดียว กลุ่มเป้าหมาย Segment อื่นไม่สามารถเข้าถึงหรือตอบโจทย์ความต้องการได้สูงสุด เพื่อให้แบรนด์สร้างยอดขายได้หลากหลายช่องทาง การเลือก Segment มากกว่า 1 กลุ่มมาเป็นเป้าหมาย แล้วผลิตสินค้าบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่ม Segment ที่เลือกและกลุ่มอื่นๆ ได้ทั่วถึง จะช่วยทำให้ธุรกิจคุณมีรายได้จากผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ มีกำไรเพิ่มขึ้นอีก 

 

สรุป

บทสรุปการแบ่ง Segmentation

Segmentation คือ การคัดกรองหากลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่เพื่อเป็นจัดโฟกัสในการพัฒนาแบรนด์ของคุณได้อย่างยืนยาว พร้อมช่วยการดำเนินกลยุทย์ของแบรนด์ สามารถนำเสนอสินค้าบริการ หรือใช้สื่อในการสื่อสารให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด อีกทั้ง Segmentation พร้อมเป็นหนึ่งในการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ ที่ช่วยการันตีให้แบรนด์ของคุณขยายช่องทางการตลาดช่องทางใหม่ เพิ่มการเติบโต ขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาดใหม่ในอนาคตได้

เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

News Update