ปัจจุบันการใช้จ่ายสินค้าและบริการผ่านระบบการชำระเงินออนไลน์เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมมากขึ้นทุกปี เหล่าร้านค้าออนไลน์ต่างก็ต้องปรับตัวไปตาม ๆ กัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการจับจ่ายผ่านระบบการชำระเงินออนไลน์กลายมาเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดย่อม หรือขนาดใหญ่ ย่อมต้องให้ความสำคัญกับระบบ Payment Gateway ที่ดี เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าและทำให้สามารถปิดการขายได้ง่ายขึ้น
Payment Gateway คืออะไร ?
Payment Gateway เป็นระบบชำระเงินออนไลน์ที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นระบบที่ทำหน้าที่เชื่อมเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเข้ากับระบบชำระเงินรูปแบบต่างๆ ช่วยตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้น ทำให้คุณสามารถชำระค่าบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย ช่วยลดเวลาในการ Shopping Online ของเหล่านักช้อปได้เป็นอย่างดี
โดยปัจจุบันระบบ Payment Gateway จะถูกดำเนินการผ่านตัวกลาง 2 รูปแบบเป็นหลัก คือระบบชำระเงินออนไลน์โดยเชื่อมกับธนาคารโดยตรง (Bank) เช่น K-Payment Gateway และระบบชำระเงินออนไลน์ผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank) อย่างเช่น Paypal , Shopify เป็นต้น
ความสำคัญของ Payment Gateway
Payment Gateway สำคัญอย่างไร มีความจำเป็นแค่ไหนต่อเว็บไซต์ออนไลน์และธุรกิจของคุณ ?
ผลสำรวจจากสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยเปิดเผยแนวโน้มตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2565 ว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% สอดคล้องกับข้อมูลของ Lazada (ประเทศไทย) ซึ่งระบุว่าจำนวนผู้ใช้งานอีคอมเมิร์ซในไทยในปี 2565 จะเพิ่มเป็น 43.5 ล้านคน หรือกว่า 61.8% ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด ดังนั้นด้วยปริมาณของนักช้อปออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่ดีจึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการที่จะเพิ่มโอกาสในการปิดการขายและทำให้ธุรกิจของคุณเป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้น ไม่ว่าจะธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ Payment Gateway จึงองค์ประกอบที่มองข้ามไม่ได้เลย
Payment Gateway ต่างจาก Payment Processor อย่างไร ?
เพื่อให้คุณเข้าใจมากขึ้น เราจะเปรียบเทียบ Payment Gateway และ Payment Processor โดยสรุปออกมาเป็นตารางกระบวนการทำงานที่แตกต่างกันให้ดูแบบชัดๆ กันไปเลย
Payment Gateway
- Payment Gateway คือเทคโนโลยีที่เข้ารหัสและส่งรายละเอียดส่วนบุคคลและธนาคารของลูกค้าไปยัง Payment Processor เพื่อทำธุรกรรมให้เสร็จสมบูรณ์
- มักใช้สำหรับโอนชำระธุรกรรม E-commerce ภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากรองรับการชำระเงินได้หลากหลายรูปแบบ
- รองรับการชำระเงินได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การโอนเงินปกติ, การตัดเงินผ่านบัตรเครดิต-เดบิต, การแสกนจ่ายด้วย QR Code ไปจนถึงการโอนเงินผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่เชื่อมต่อกับบัญชีที่ผูกเบอร์ไว้ (Promptpay)
Payment Processor
- Payment Processor คือบริการชำระเงินที่โอนข้อมูลบัตรของลูกค้าไปยังสถาบันการเงินที่เหมาะสม ซึ่งทำให้การทำธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์
- นิยมใช้ในการโอนชำระเงินบนพื้นที่ต่างประเทศ เนื่องจากตัวบัตรรองรับการจ่ายเครดิตร่วมกับบัตรนอกประเทศได้
- รองรับได้เฉพาะการชำระเงินได้ผ่านบัตรเครดิต-เดบิตเท่านั้น
ทำไมร้านค้าออนไลน์ควรใช้ Payment Gateway ?
เนื่องจากปัจจุบันร้านค้าออนไลน์มีผู้ใช้งานเป็นมากขึ้น และแน่นอนว่าคู่แข่งของเราก็ย่อมเติบโตขึ้นตามปริมาณของลูกค้าเช่นเดียวกัน ช่องทางการชำระเงินออนไลน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ร้านค้าออนไลน์ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าของเราในด้านการชำระเงินด้วยระบบ Payment Gateway จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปิดการขาย เพราะสามารถรองรับการชำระเงินได้ทุกรูปแบบ และตรงต่อไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในยุคปัจจุบัน
ข้อดีของ Payment Gateway
Payment Gateway จะสามารถอำนวยความสะดวกสูงสุดให้แก่ลูกค้าของคุณ เนื่องจากมีช่องทางในการชำระเงินที่หลากหลาย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน แต่มีความปลอดภัยที่สูงกว่าระบบชำระเงินออนไลน์ทั่ว ๆ ไป ทำให้สามารถรองรับลูกค้าได้หลากหลายกลุ่มและสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจของคุณได้อย่างดีเยี่ยม และการเลือกใช้ Payment Gateway ที่ดี อาจะทำให้คุณสามารถขยายขอบเขตธุรกิจของคุณได้กว้างไกลไปทั่วโลกเลยทีเดียว เนื่องจากระบบชำระเงินออนไลน์ที่รองรับบัตรเครดิต บัตรเดบิตและสกุลเงินจากหลากหลายประเทศ ถูกใจผู้ซื้อ อุ่นใจผู้ขาย แบบนี้หากธุรกิจไหนไม่ใช้ Payment Gateway คงจะไม่ได้แล้ว
ข้อจำกัดของ Payment Gateway
นอกจากข้อดีที่กล่าวไปแล้ว ควรคำนึงถึงข้อจำกัดของระบบ Payment Gateway เพื่อใช้ในการพิจารณาให้ตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจของคุณที่สุด ซึ่งข้อจำกัดของระบบ Payment Gateway จะแตกต่างกันเล็กน้อยตามปัจจัยการให้บริการที่แตกต่างกัน อาจเป็นในเรื่องของทุนจดทะเบียนที่แตกต่างกัน หากทุนจดทะเบียนไม่เพียงพอ อาจจะไม่สามารถใช้บริการ Payment Gateway Bank ได้ ซึ่งหากเราไปเลือกใช้ใช้บริการ Payment Gateway Non Bank แทน ก็อาจจะต้องเจอคำค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่สูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงควรพิจารณาเลือก Payment Gateway ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณเป็นหลัก
Payment Gateway Bank กับ Non Bank ต่างกันอย่างไร
หลายคนคงจะเริ่มสงสัยกันแล้วว่า แล้วเจ้าระบบ Payment Gateway ที่เชื่อมกับธนาคารโดยตรง (Bank) และระบบชำระเงินออนไลน์ผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank) นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร
ระบบ Payment Gateway ที่เชื่อมกับธนาคารโดยตรง (Bank) ความหมายตรงตามชื่อเลย คือเป็นระบบชำระเงินออนไลน์แบบที่มีตัวกลางเป็นธนาคารโดยตรง มีข้อดีคือระบบนี้จะทำให้ร้านค้าออนไลน์ของคุณมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นแน่นอนเนื่องจากเป็นระบบที่ถูกผูกอยู่กับธนาคาร และมีค่าธรรมเนียมต่อรายการค่อนข้างต่ำ แต่ข้อเสียคือข้อกำหนดและเงื่อนไขในการใช้งานค่อนข้างซับซ้อน เช่นอาจจะต้องมียอดเงินฝากขั้นต่ำตามธนาคารกำหนด หรือมีทุนจดทะเบียนจำนวนหนึ่ง ดังนั้นระบบ Payment Gateway Bank จึงเหมาะกับบริษัทหรือองค์กรที่มีต้นทุนอยู่แล้วจำนวนหนึ่งนั่นเอง
มาต่อกันที่ระบบ Payment Gateway ผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank) เป็นระบบชำระเงินออนไลน์ผ่านผู้ให้บริการด้านการเงินอื่น ๆ ซึ่งมีข้อดีคือสมัครงานง่าย มีหลากหลายช่องทางให้เลือก ไม่ต้องมีเงินฝากขั้นต่ำก็สามารถใช้งานได้ แต่อาจจะต้องแลกมาด้วยค่าธรรมเนียมต่อรายการที่สูงขึ้นมาหน่อย ดังนั้น ระบบ Payment Gateway Non Bank จึงครอบคลุมเหมาะกับธุรกิจทุกประเภทตั้งแต่ร้านค้าออนไลน์ขนาดเล็ก ไปจนถึงห้างหุ้นส่วน
หลังจากทราบข้อมูลของ Payment Gateway กันไปอย่างครบถ้วนแล้ว ก็ได้เวลามาตัดสินใจกันแล้วว่าจะเลือก Payment Gateway เจ้าไหนดี ? เพื่อให้ตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณมากที่สุด แนะนำว่าให้เริ่มต้นจากการพิจารณาอายุและขนาดของธุรกิจของคุณลว่าจดทะเบียนมานานแค่ไหนแล้ว และมีทุนจดทะเบียนหรือไม่ จากนั้นจึงไปพิจารณาผู้ให้บริการ Payment Gateway ทั้งสองรูปแบบว่ามีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร
Payment Gateway Bank เจ้าไหนดี ?
เรามาดูกันดีกว่าว่า Payment Gateway Bank เจ้าไหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณมากที่สุด วันนี้เรารวบรวม Payment Gateway Bank มาทั้งหมด 5 ธนาคาร ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจของคุณได้เป็นอย่างดี มาเริ่มกันที่ธนาคารยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของเรากันก่อนดีกว่า นั่นก็คือ ‘ K-Payment Gateway’ นั่นเอง
- K-Payment Gateway
‘K-Payment Gateway’สะดวก รวดเร็ว ใช้งานง่าย ปลอดภัย ครอบคลุมทุกระดับธุรกิจ
เปิดมาด้วย ‘K-Payment Gateway’ ของธนาคารกสิกรไทย (Kbank) รองรับการทำ Payment Gateway ของธุรกิจ SME หรือหุ้นส่วนออนไลน์ สามารถทำธุรกรรมทั้งภายในและต่างประเทศได้สะดวกสบาย เพราะมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นไปตามมาตรฐาน PCI DSS
จุดเด่นของ Kbank Payment Gateway คือระบบนี้สามารถรองรับสกุลเงินทั้งในและต่างประเทศได้มากกว่า 36 สกุลเงินทั่วโลก และยังสามารถแปลงสกุลเงินสำหรับบัตรเครดิตต่างชาติเป็นสกุลเงินไทยได้อัตโนมัติอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีระบบการชำระเงินออนไลน์ที่รองรับการชำระเงินแบบแบ่งจ่าย ทั้งสะดวก รวดเร็ว ใช้งานง่าย ปลอดภัย ครอบคลุมทุกระดับประทับใจจริง ๆ
‘K-Payment Gateway’ ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปี แต่ต้องมีเงินค้ำประกัน 200,000 บาท
https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/financial-services/collection-solutions/pages/k-payment-gateway.aspx
-
SCB Payment Gateway
‘SCB Payment Gateway’ แอพลิเคชั่นที่ใช้งานได้หลากหลายและคำนึงถึงอนาคต
มาต่อกันที่ระบบ ‘SCB Payment Gateway’ ของธนาคารไทยพาณิชย์ประเทศไทย (SCB) ที่รองรับการชำระเงินออนไลน์แก่ธุรกิจหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น E-commerce , Cooporate รวมไปถึงธุรกิจ SME ในร้านค้าออนไลน์ทุกประเภท
ซึ่งจุดเด่นที่สำคัญของ SCB Payment Gateway คือการรองรับการทำธุรกรรมการเงินหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การโอนเงินปกติ การตัดเงินผ่านบัตรเครดิต-เดบิต หรือการแสกนจ่ายด้วย QR Code เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย โดยระบบแอปพลิเคชั่นของ SCB ขึ้นชื่อเรื่องรูปแบบการใช้งานที่ง่าย สามารถตรวจสอบประวัติการชำระเงินได้แบบ realtime และยังเพิ่มเครดิตให้กับบัตรของผู้ใช้เพื่อต่อยอดในการอนุมัติกู้สินเชื่อกับทางธนาคารได้ง่ายมากขึ้นในอนาคต เรียกได้ว่าใช้งานได้หลากหลายและยังคำนึงถึงอนาคตอีกด้วย
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/payment/for-merchant/payment-gateway.html
‘Merchant iPay’ระบบ Payment Gateway ที่รองรับการชำระเงินจากทุกมุมโลก
สำหรับระบบ Payment Gateway ของธนาคารกรุงเทพฯ ประเทศไทย (BBL) ที่ไม่ได้มีดีแค่ชื่ออย่าง ‘Merchant iPay’ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ด้วยระบบพิเศษภายในแอป BBL ที่ช่วยสนับสนุนการชำระเงินออนไลน์ และเพิ่มยอดขายทั้งภายในและต่างประเทศทั่วโลกได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น จุดเด่นที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือระบบ Be Smart ที่ทำให้ลูกค้าสามารถรับยอดเงินจากการขายแบบทันที และชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเป็นแบบรายเดือน ซึ่งมีบริการรองรับธนบัตรหลายสกุลเงินทั่วโลก ด้วยการชำระผ่านบัตรเครดิต VISA และ Mastercard นอกจากนี้ยังรองรับบัตรเครดิตทุกประเภทตั้งแต่ VISA , MasterCard , UnionPay , JCB และ TPN
‘Merchant iPay’ มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 1,500 บาท และ 1,000 บาท/ปี และต้องมีเงินค้ำประกันอีก 100,000 บาท
https://www.bangkokbank.com/th-TH/Business-Banking/Manage-My-Business/Merchant-Services/Merchant-iPay
‘Krungthai Fast Pay’ Payment Gateway ที่รองรับกรทำธุรกรรมทั่วโลก 24 ชั่วโมง
ถ้าพูดถึงธนาคารที่น่าเชื่อถืออันดับต้นๆ คงจะขาดระบบ ‘Krungthai Fast Pay’ Payment Gateway ของธนาคารกรุงไทยประเทศไทย (KTB) ไปไม่ได้ โดยธนาคารกรุงไทยมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการเปิดร้านค้าออนไลน์ที่สามารถทำการซื้อขายได้ 24 ชม. เพื่อรองรับการชำระเงินออนไลน์ทั่วโลก KTB Payment Gateway มีอัตราค่าธรรมเนียมต่อรายการอยู่ที่ 3 – 5% มีจุดเด่นในเรื่องของการทำธุรกรรมผ่าน Merchant Portal ตลอด 24 ชม. และสามารถดูย้อนหลังได้ 90 วัน รองรับการชำระเงินผ่านบัตรทุกประเภทตั้งแต่ VISA , MasterCard , UnionPay, TPN และ PromptCard เหมาะสำหรับลูกค้าบุคคล ลูกค้า SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่
‘Krungthai Fast Pay’ มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 5,000 บาท และเริ่มต้น 10,000 บาท/ปี และต้องมีเงินค้ำประกันอีก 200,000 บาท
https://krungthai.com/th/corporate/cash-management/transfer-and-payment-services/344
Payment Gateway Non Bank
-
Paypal
‘Paypal’ Payment Gateway ยอดนิยมที่ไม่มีใครไม่รู้จัก
สำหรับนักช้อปออนไลน์ที่ชอบซื้อของจากต่างประเทศย่อมรู้จัก Payment Gateway เจ้านี้ดี ‘Paypal’ เนื่องจากสามารถใช้งานและรับเงินได้จากทุกประเทศทั่วโลกได้มากกว่า 25 สกุลเงินโดยสามารถแปลงตัวเงินต่างชาติให้เป็นเงินสกุลตามชาติของผู้ใช้งานได้อัตโนมัติ และหากมียอดการใช้งานจำนวนมาก ค่าธรรมเนียมจะถูกลง ซึ่งรองรับ Payment Gateway ผ่านบัตรเครดิต-เดบิต PayPal, Visa, Mastercard, AMEX, Discover และ UnionPay
paypal.com
-
Shopify
‘Shopify’ แอปพลิเคชัน ecommerce สุดที่มีระบบการประมวล Payment Gateway ได้รวดเร็วทันใจ
‘Shopify’ เป็นแอปพลิเคชันที่เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจที่พึ่งเปิดได้ไม่นาน แต่กลับได้รับความนิยมมากมาย ข้อดีคือมีการประมวลผลการชำระได้รวดเร็ว ปลอดภัย พร้อมการแจ้งเตือนยอดเงินจากการจ่ายให้เจ้าของร้านรับรู้ได้ทันที อีกทั้งยังเป็น Payment Gateway ที่สามารถรองรับร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการทำ SEO และทำการโฆษณาผ่านระบบของ Shopify ได้ด้วย
https://www.shopify.com/
ด้วยความที่ Stripe Payment Gateway เป็นระบบชำระเงินบนแอปและเว็บไซต์ที่มี Interface การใช้งานที่ง่ายและสะดวก จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ Stripe จะติดอันดับต้น ๆ กลายมาเป็น Payment Gateway ในใจของหลาย ๆ ธุรกิจได้อย่างง่ายดาย และยังมีตัวช่วยที่ดีอย่าง Plug-in Third Party มาติดตั้งในเว็บไซต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตัวเว็บได้ดียิ่งขึ้น
https://stripe.com/
-
2C2P
ข้อดีที่น่าสนใจของ 2C2P คือเป็นระบบ Payment Gateway ที่รองรับชำระเงินออนไลน์ที่มีค่าธรรมเนียมถูกที่สุดโดยจะอยู่ที่ 2.75% และเป็นเจ้าแรกๆ ที่ให้บริการในประเทศไทย ขนาด Facebook เองก็ยังเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับ 2C2P ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ 2C2P Payment Gateway รองรับการชำระด้วยบัตรเครดิต และเดบิต หลายหลายเจ้ามาก ไม่ว่าจะเป็น Visa, MasterCard, American Express, Discover, Diners Club, JCB, และ UnionPay
2c2p.com