การดำเนินธุรกิจในเทรนด์ปัจจุบัน ไม่ได้จบแค่การปิดยอดขายอย่างเดียว เพราะการที่จะดึงดูดลูกค้ามาภักดีแบรนด์ของคุณในระยะยาว จะต้องมีการวัดผล Reaction ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ธุรกิจคุณวางกลยุทธ์ได้ตรงเป้า โดย Engagement คือหนึ่งในการประเมินคอนเทนต์จากตัวลูกค้าเอง ที่จะช่วยยกระดับการตลาดให้อยู่ในทิศทางที่เติบโตมากขึ้น แล้วค่า Engament Rate คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง วันนี้ทาง Fastcommerz จะมาอธิบายหลักการทำงานของ Engagement ในบทความนี้
Engagement คืออะไร
Engagement คือ ค่าปฏิสัมพันธ์ทางเชิงบวกของผู้ชมที่ได้มีส่วนร่วมกับสื่อคอนเทนต์ อย่างการกด Like กด Share หรือการพิมพ์ Comment ในโซเชียลแพลตฟอร์มต่าง ๆ อาทิ Facebook, TikTok, Instagram, Line ฯลฯ เพื่อนำเป็นข้อมูลในการวัดผลการทำแคมเปญของคุณเอง และยอด Engagement ที่เป็นค่าปฏิสัมพันธ์ทางเชิงลบ อย่างการกดซ่อนเนื้อหา แจ้ง Spam รวมไปถึงกด Report ข้อมูลเหล่านี้สามารถเป็นดัชนีข้อมูลให้นักธุรกิจนำไปปรับปรุงคอนเทนต์ เพื่อใช้เผยแพร่ในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น
Engagement เรื่องควรรู้สำหรับธุรกิจ
สิ่งที่นักธุรกิจในยุคปัจจุบันควรรู้และควรสร้าง Brand Engagement คือ การสร้างตัวตน (Character) เพื่อมาสื่อสารระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคให้มีส่วนร่วมกับธุรกิจของคุณมากขึ้น โดยเราจะใช้ตัวตนเป็นผู้สร้างคอนเทนต์ต่าง ๆ ให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้สึกสนใจ อยากติดตาม และต้องการทราบเรื่องราวใหม่ ๆ ที่ตัวตนเป็นผู้เผยแพร่
ซึ่งเป้าหมายของกลยุทธ์การสร้าง Engagement คือ การสานความสัมพันธ์ทั้งแบรนด์กับลูกค้าทางเชิงบวกในระยะยาว แต่การสร้าง Engagement ไม่จำเป็นต้องใช้แบรนด์เป็นผู้ผลิตเนื้อหาคอนเทนต์เสมอไป เพราะเราสามารถใช้กลยุทธ์ Engagement รูปแบบอื่นๆ มานำเสนอให้ดึงดูดแก่ลูกค้าคุณได้ อาทิ การว่าจ้าง Influencer, E-mail Marketing หรือ Paid Ads ในการกระจายสื่อตามช่องทางโซเชียลต่างๆ
Facebook Engagement คืออะไร
Facebook Engagement คือ การแบ่งปันเนื้อหาคอนเทนต์เกี่ยวกับธุรกิจแบรนด์ของคุณใน Facebook ซึ่งรูปแบบสื่อที่นำมาเป็นคอนเทนต์จะมีตั้งแต่ การโพสต์ข้อความ โพสต์รูป, VDO, GIF หรืออัลบัมแบบ Storytelling ให้ผู้ชมได้แสดงการปฏิสัมพันธ์ขึ้นมา โดยการตอบสนองของผู้บริโภคสามารถนับยอด Engagement ได้เป็นการกดปุ่มอารมณ์ Reaction, Share, Comment และยอดจำนวน Click อีกด้วย
Employee Engagement คืออะไร
Employee Engagement คือ การวัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กรกับแบรนด์ เพื่อทราบความรู้สึกของพนักงานส่วนใหญ่ว่ามีแรงจูงใจในการทำงานร่วมกับองค์กรมากแค่ไหน โดยทฤษฎีนี้นิยมนำมาใช้ในแผนก Human Resources เป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำผลข้อมูลจากพนักงานไปปรับปรุงสภาพแวดล้อม พื้นที่ทำงานในองค์กร ให้เอื้ออำนวยต่อการทำงาน บรรยากาศในการทำงานมีทิศทางเชิงบวกมากขึ้น
Engagement มีกี่ประเภท
4 ส่วนประกอบหลัก ๆ ของ Engagement คือ Click, Like/React, Share และ Comment
Click
คลิก (Click) คือ จำนวนการกดคลิกทุกจุดของคอนเทนต์ที่สื่อธุรกิจได้เผยแพร่ออกไป ยอด Click เป็นหนึ่งใน Engagement ที่ใช้เป็นข้อมูลดัชนีตัดสินแนวทางการทำโฆษณา หรือ การยิงแอด หากยอดคลิกมีจำนวนเยอะ แปลว่า คอนเทนต์ Tie-in ของคุณมีความน่าสนใจ สร้างแรงดึงดูดให้ผู้ชมเกิดการติดตามเนื้อหาเพิ่มเติม
Like/React
ไลค์และรีแอค (Like/React) คือ การเช็ก Reaction ทั้งหมดของผู้ชมที่ได้รับชมสื่อโซเชียลต่อหนึ่งคอนเทนต์ เพื่อดูแนวทางว่าสื่อนำเสนอของคุณให้ผลความรู้สึกในด้านเชิงบวก หรือเชิงลบมากน้อยแค่ไหน
Share
แชร์ (Share) คือ การกระทำของผู้ชมที่ได้แบ่งปันเนื้อหาของสื่อธุรกิจของคุณ เพื่อต้องการเผยแพร่คอนเทนต์นี้ไปยัง Timeline ของตนเอง
Comment
คอมเมนต์ (Comment) คือ การกระทำของผู้ชมที่ได้วิพากษ์วิจารณ์คอนเทนต์ โดยแสดงความรู้สึกผ่านตัวอักษร
ขั้นตอนการสร้าง Engagement Marketing สำหรับธุรกิจ
4 ขั้นตอนการสร้าง Engagement Marketing มีดังนี้
1.กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
ก่อน Setting Engagement ไปหาใครให้แบรนด์ค้นคว้าหากลุ่มเป้าหมายที่ใช่ก่อน เพื่อหาลูกค้าตัวจริงที่มีความสนใจสินค้าและบริการของคุณ โดยการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย สามารถทำ Segmentation เพื่อคัดแยกกลุ่มลูกค้าเป็นหมวดหมู่ ใครที่มีลักษณะความชอบคล้ายคลึงกันจะให้จัดอยู่ใน Category เดียวกัน เมื่อคัดกรองเสร็จให้เลือกกลุ่ม Segment ที่ใหญ่ที่สุดมาเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพราะการเลือกกลุ่มใหญ่จะช่วยให้ธุรกิจคุณขายได้ในระยะยาว ส่วนกลุ่มย่อย ๆ สามารถทำการตลาดแบบ Niche Marketing ภายหลังจากการ Engagement หลักลงตัว
2.สร้าง Brandvoice
สิ่งสำคัญก่อนการวาดฝัน Engagement คือการสร้าง Signature Brand Voice ที่เป็นสไตล์แบรนด์ของคุณเท่านั้น ไม่ควรจำเจเหมือนคู่แข่ง ยิ่งมีตัวตนเป็นของตัวเองชัดเจนก็จะยิ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ และเกิดการจดจำแบรนด์ของคุณในที่สุด หากการสร้าง StoryTelling ที่มีคุณภาพก็จะช่วยเพิ่มยอด Engagement ให้สูงขึ้น ได้คะแนนเชิงบวก แล้วยังทำให้แบรนด์ธุรกิจเกิดเป็น Brand Top Of Mind ในใจลูกค้าได้
3.รวบรวมความคิดและสร้างคอนเทนต์
คอนเทนต์ที่ดีในการสร้าง Engagement คือ การนำเสนอรูปแบบคอนเทนต์แปลกใหม่ สร้างสรรค์ไม่ซ้ำจำเจคนอื่น และไม่ทำเนื้อหาเฉพาะหรือซับซ้อนแก่ผู้ชมมากเกินไป เน้นเล่าเรื่องแบบ Big Picture ให้เข้าใจง่าย พร้อมใช้ Format ในการพรีเซนต์ให้เหมาะสมกับโซเชียลแพลตฟอร์ม ยกตัวอย่างเช่น จะทำคอนเทนต์สำหรับแอป Facebook Engagement ก็ควรเน้นการทำคอนเทนต์แบบเล่าเรื่อง ใช้รูปประกอบ ส่วนแอป TikTok ก็จะต้องนำเสนอเป็นคลิปวิดีโอสั้น ๆ เป็นต้น
4.ติดตามผล พัฒนาและปรับปรุง
การติดตามผล Engagement คือการใช้ Tools สำหรับติดตามผลประกอบการในการเก็บ Perfomance ด้วย เพราะนอกจากเราจะได้ข้อมูลมาแล้ว เรายังได้จุดเด่นและจุดบกพร่องจากการเก็บยอด Engagement มาพัฒนาแคมเปญในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพ Engagement เพื่อพัฒนาธุรกิจ
การทำ Engagement ให้มีประสิทธิภาพคือ การใช้ Tools ระบบหลังบ้านของแต่ละแพลตฟอร์มได้อย่างช่ำชอง โดยระบบหลังบ้านโซเชียลมีเดียอย่าง Engagement Facebook, TikTok, Google จะมี
- Facebook Business Manager
- Google Analytics
- TikTok Business Manager
นอกจากการใช้ Tools ในการพัฒนาธุรกิจ เราจะต้องทำการ Research เพื่อค้นหา Consumer Insight ในการกระตุ้นยอด Engagement ให้สูงขึ้น เพื่อสร้างคอนเทนต์เป็นแรงจูงใจ มอบประสบการณ์ ปิดยอดขาย ทำให้ลูกค้าเป็น Loyalty Customer ได้ในระยะยาว
สรุป
การทำ Engagement ที่มีคุณภาพจะต้องนำเสนอคอนเทนต์ในแต่ละแพลตฟอร์มได้อย่างเหมาะสม และมีเนื้อหาการพรีเซนต์ที่สดใหม่ ไม่จำเจ มีคาแรกเตอร์เป็นของตัวเอง แต่หากต้องการ Tools ที่สามารถติดตามยอด Engagement ได้ทุกแพลตฟอร์ม พร้อมสรุปข้อมูลเป็น Dashboard ได้แบบเรียลไทม์ ลองหันมาใช้บริการของ Fastcommerz เว็บไซต์เสนอการขายในรูปแบบ Salepage ที่จะช่วยกระตุ้นการขายให้จบภายในโฆษณาหน้าเดียว พร้อมอุปกรณ์ยิงแอดอื่น ๆ ภายในผลิตภัณฑ์ของเรา สนใจติดต่อได้ที่
ที่ตั้ง: 573/104
รามคำแหง 39
แขวง พลับพลา เขต วังทองหลาง
กรุงเทพมหานคร 10310
ติดต่อสอบถาม:
084-509-5545
061-924-7449
อีเมล: fastcommerz@gmail.com