รวมเรื่องเว็ปไซต์ตั้งแต่เริ่ม อ่านจบสร้างเว็ปได้เลย!
เว็ปไซต์ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจในยุคออนไลน์แบบที่เรียกว่าขาดไม่ได้เลยเด็ดขาด โดยเฉพาะในปัจจุบันเชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้เห็นและใช้งาน เว็ปไซต์ มาแล้วเกือบจะทุกคน เพียงแต่ว่าบางคนอาจจะยังไม่ทราบว่า เว็ปไซต์คืออะไร เว็ปไซต์มีกี่ประเภท การทำการตลาดด้วยเว็ปไซต์ต้องเริ่มต้นอย่างไร แล้วจะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
ในบทความนี้ Fast Commercez เลยขอมาไขข้อสงสัยให้คุณ ในทุกเรื่องเกี่ยวกับเว็บไซต์ เพื่อเป็นส่วนช่วยให้คุณสามารถทำธุรกิจในยุคออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไปติดตามต่อกันได้เลย
เว็ปไซต์ คืออะไร ?
เว็ปไซต์ (Website) คือ หน้าเว็บที่ได้มีการจัดทำขึ้นมาเพื่อที่จะสามารถแสดงเนื้อหาหรือข้อมูลต่าง ๆ ลงไปได้ โดยที่ตัวเว็ปไซต์มักจะประกอบไปด้วยหน้าเว็บเพจ (Webpage) จำนวนหลาย ๆ หน้า หรือที่เรียกว่า www. (เวิลด์ไวด์เว็บ) ซึ่งต้องเปิดด้วยโปรแกรมเฉพาะอย่าง Web Browser เช่น Google Chrome, Safari หรือ Microsoft Edge เป็นต้น
หากคิดภาพตามไม่ออก ให้คิดว่าเว็ปไซต์ก็เปรียบเสมือน หนังสือ ที่ต้องมีหน้าปกซึ่งก็คือหน้าแรกของเว็ปไซต์ เพื่ออธิบายธุรกิจของเรา ซึ่งสามารถประกอบไปด้วยข้อมูลประเภทใดก็ได้ที่สำคัญต่อการทำธุรกิจ หรือการเข้าถึงลูกค้า ผู้เข้าขมเว็ปไซต์ของคุณ จากนั้นจะเชื่อมต่อ เว็บเพจ อีกหลาย ๆ หน้าเข้าด้วยกัน หรือที่เราเรียกว่า Link ซึ่งเว็บเพจภายในเว็ปไซต์ ก็คือข้อมูลส่วนอื่น ๆ ที่คุณต้องการนำเสนอผ่านเว็ปไซต์ธุรกิจนั่นเอง
ประวัติเว็ปไซต์
เว็ปไซต์ นั้นถือกำเนิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2533 จาก ทิม เบิร์นเนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee นักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองของสถาบันเซิร์น (CERN) ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งยุโรป ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์ที่ได้ทำการสร้างระบบการสื่อสารข้อมูล ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบใหม่ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน ที่เรียกว่าไฮเพอร์เท็กซ์ (hypertext) ซึ่งผลที่ได้ทำให้มีการสร้าง Protocol แบบ HTTP (Hypertext Transport Protocol) ขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการส่งสารสนเทศต่างๆ โดยจะถูกจัดอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (HyperText Markp Language)
ซึ่งการเข้ามาของเว็ปไซต์นั้น สามารถทำให้มนุษย์ทุกคนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว จากสื่อหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ภาพ และเสียง เป็นต้น
ประเภทของเว็ปไซต์
เว็ปไซต์นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามการใช้งาน แต่ถ้าพูดถึงประเภทหลัก ๆ และถือเป็นประเภทของเว็ปไซต์ที่ได้รับความนิยมนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
เว็ปไซต์ E-Commerce
เว็ปไซต์ E-Commerce คือ เว็ปไซต์ที่มีจุดประสงค์ในการซื้อขายสินค้าและบริการ จากร้านค้าถึงมือลูกค้าได้แบบไม่ต้องใช้หน้าร้าน ซึ่งภายในเว็ปไซต์ E-Commerce จะมีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยให้การซื้อขายสินค้า สามารถทำได้อย่างสะดวกมากที่สุด เช่นระบบแสดงสินค้า, ระบบจัดการสต็อค, ระบบการชำระเงิน (Payment Gateway), ระบบการจัดส่งสินค้า ซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถสร้างยอดขาย เข้าถึงลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน จากผู้ใช้งานเว็ปไซต์ทั่วทุกมุมโลก
ซึ่งเว็ปไซต์ E-Commerce นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายของการทำธุรกิจแบบออฟไลน์ทั่วไปลงได้หลายส่วน เช่น ค่าเช่าที่ ค่าจ้างพนักงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ธุรกิจแบบออฟไลน์ต้องแบกรับ ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจแบบ B2C ส่วนใหญ่ก็จะหันมาใช้งานเว็ปไซต์ E-Commece กันแล้วเกือบทั้งหมด โดยตัวอย่างของเว็ปไซต์ E-Commerce ที่มีชื่อเสียง เช่น Amazon, E-Bay เป็นต้น
เว็ปไซต์ Blog Post
เว็ปไซต์ Blog Post คือ เว็ปไซต์ที่มีจุดประสงค์สำหรับการเผยแพร่ บทความ เพื่อใช้ในการสื่อสาร หรือประชาสัมพันธ์เรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของคุณ เช่นการอธิบายสินค้า, การให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือเพื่อแจ้งข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ เผยแพร่สิ่งที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการดึงดูดลูกค้าของธุรกิจคุณ เช่นหากธุรกิจของคุณเป็น เอเจนซีทำการตลาดออนไลน์ ก็จะต้องมี บทความที่เผยแพร่ด้านความรู้ในการทำการตลาดออนไลน์ลงอยู่ในเว็ปไซต์ด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสในการเจอกับกลุ่มเป้าหมาย หรือว่าที่ลูกค้าของธุรกิจคุณได้ง่ายขึ้น
โดยเว็ปไซต์ Blog Post นั้นถ้าอยากทำให้เว็ปไซต์เข้าถึงผู้คนได้จำนวนมาก ก็ต้องอาศัยการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งถือเป็นเทคนิคในการทำให้เว็ปไซต์ถูกค้นหาจากหน้า Search Engine ได้ง่ายมากขึ้นนั่นเอง ในปัจจุบันเว็ปไซต์ประเภท Blog Post กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการใช้งานที่ทำได้หลายวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
เว็ปไซต์ Service
เว็ปไซต์ Service คือเว็ปไซต์ที่มีขึ้นเพื่ออธิบายบริการของธุรกิจคุณ ในกรณีที่ธุรกิจมีสินค้าที่ไม่สามารถจับต้องได้ หรือเป็นธุรกิจที่ขายการบริการ (Service) เป็นหลัก โดยเว็ปไซต์ประเภทนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากเว็ปไซต์ทั่วไป ตรงที่เว็ปไซต์ Service นั้นจะมีเป็นหน้าเว็ปไซต์หน้าเดียว ที่แยกออกมาจากเว็ปไซต์หลักของธุรกิจ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน หรือความสะดวกในการเอาไปยิงแอด ยิงโฆษณาใน Social Media
ซึ่งเว็ปไซต์ประเภทนี้ จะใช้เว็ปไซต์แบบ Single Page Website , SalePage เป็นรูปแบบของเว็ปไซต์ในการทำ เว็ปไซต์ Service เพราะจะสามารถอธิบายรายละเอียดของ Service ของธุรกิจคุณได้แบบละเอียด ในกรณีที่ข้อมูลเยอะ ก็สามารถอธิบายได้จบในหน้าเดียว สามารถใส่รูป วิดีโอ หรือสื่ออื่น ๆ เข้าไปได้ โดยไม่ทำให้หน้าเว็ปไซต์หลักช้าลง เป็นที่นิยมอย่างสูงสำหรับธุรกิจประเภท B2B (Business To Business) หรือธุรกิจใดก็ตามที่มีผลิตภัณฑ์เป็นงานด้านบริการ
สนใจสร้าง Single Page Website , SalePage เว็ปไซต์หน้าเดียว ตอบโจทย์การตลาดยุคใหม่ในราคาพิเศษ ช่วยให้ธุรกิจเพิ่มยอดขาย ขยายฐานลูกค้า สร้างการตลาดแบบอัตโนมัติ จากทีมงานมากประสบการณ์ของ Fast Commerz ได้แล้วตอนนี้ >> ติดต่อเราเพื่อสร้างเว็ปไซต์
Platform การสร้างเว็ปไซต์ ที่ได้รับความนิยม มีอะไรบ้าง
WordPress
WordPress คือ แพลตฟอร์มสำเร็จรูปที่ใช้สร้างและจัดการเว็ปไซต์ประเภท Contents Management System หรือ “CMS” สามารถให้คุณสร้างเว็ปไซต์ที่สวยงามได้ฟรี หรือจะเลือกแบบเสียเงินชำระเป็นรายปีก็ได้ จะมี Option เพิ่มเติมในการจัดการเว็ปไซต์ที่มากกว่า เหมาะสำหรับเว็ปไซต์ทุกประเภท และยังสามารถเชื่อมต่อ Plugin ต่าง ๆ ที่ทำให้จัดการเว็ปไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Yoast ปลั๊กอินด้านการทำ SEO, WooCommerce ปลั๊กอินสำหรับการใช้งานเว็ปไซต์ประเภท E-Commerce เป็นต้น
จุดเด่นของ WordPress นอกจากเรื่อง PlugIn แล้วก็ยังมี Theme สำเร็จรูป ให้เลือกสำหรับการดีไซน์เว็ปไซต์ ซึ่งผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านการดีไซน์เว็ปไซต์ก็สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย ถือเป็นแพลตฟอร์มในการสร้างเว็ปไซต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก
Wix
Wix คือแพลตฟอร์มสำหรับการสร้างเว็ปไซต์สำเร็จรูป ที่มี Theme สำเร็จรูปให้เลือกมากมายกว่า 500 แบบช่วยให้คุณสามารถสร้างเว็ปไซต์ที่กำหนดเองได้ มีจุดเด่นคือ ใช้งานง่าย สามารถสร้างเว็ปไซต์ได้โดยไม่ต้องพึ่งความสามารถในการออกแบบ สามารถแก้ไขส่วนต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเว็ปไซต์ E-Commerce รวมถึงสามารถแสดงผลได้ทั้งในมุมมอง Desktop และ Mobile ตอบโจทย์ปู้ที่ต้องการสร้างเว็ปไซต์แบบเร่งด่วน มีแพคเกจให้ใช้งานทั้งแบบฟรีและเสียเงิน (มีหลายราคาให้เลือก ตาม Option ในการสร้างเว็ปไซต์)
Joomla
Joomla คือ แพลตฟอร์มสำหรับการสร้างเว็ปไซต์แบบ Contents Management System หรือ “CMS เช่นเดียวกับ WordPress มีทั้งแบบที่เป็นการให้คุณ Generate Coding ขึ้นมาเองเพื่อสร้างเว็ปไซต์ หรือจะเลือกสร้างเว็ปไซต์สำเร็จรูปผ่าน Template ก็มีให้เลือกด้วยเช่นกัน ซึ่ง Joomla มีข้อดีตรงที่ใช้งานง่าย ใช้งานได้ฟรี (หรือจะเลือกแพคเกจเสียเงินก็ได้) มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง ถูกแฮ็คยาก และยังสามารถเพิ่มเติม Plugin หรือ Extension อื่น ๆ เข้าไปยังการสร้างเว็ปไซต์ของเราได้อย่างง่ายดาย เหมือนกับ WordPress
Sitebuilder
Sitebuilder คือ แพลตฟอร์มสำหรับการสร้างเว็ปไซต์สำเร็จรูป คล้ายกับ Wix แต่จะมี Template ของเว็ปไซต์ให้เลือกน้อยกว่า เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีความสามารถด้านการออกแบบเว็ปไซต์หรือการเขียนโค้ด แต่ต้องการเว็ปไซต์ที่สวยงาม รวดเร็ว และจัดการได้ง่าย เพียงแค่เลือกดีไซน์ Template เว็ปไซต์ที่ชอบ, ใส่คอนเทนต์ลงตามส่วนต่าง ๆ และตั้งชื่อโดเมนและ URL ก็สามารถมีเว็ปไซต์เป็นของตัวเองได้ทันที
โดเมนเว็ปไซต์ และ URL คืออะไร
โดเมนเว็ปไซต์ คือ ชื่อเฉพาะของเว็ปไซต์คุณ ที่คุณต้องการจะตั้ง ซึ่งหลักการในการตั้งโดเมนเว็ปไซต์ที่ดีนั้น ควรต้องตั้งด้วยภาษาอังกฤษทั้งหมด เพราะจะง่ายต่อการค้นหา มีความเป็นสากล และควรตั้งชื่อให้กระชับ เข้าใจง่าย ไม่ซ้ำหรือสับสนกับเว็ปไซต์อื่น ๆ ควรเป็นชื่อเฉพาะของธุรกิจคุณจริง ๆ เช่น ชื่อบริษัท ชื่อบริการ ฯลฯ
เมื่อคุณกำหนดชื่อโดเมนเว็ปไซต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องใส่นามสกุลของเว็ปไซต์ หรือคำต่อท้ายของเว็ปไซต์คุณ ซึ่งมีให้เลือกมากกว่า 1,000 แบบ แต่ถ้าพูดถึงสกุลที่เป็นที่นิยมและมีความเป็นสากลมากที่สุดก็คือ com .net .org .gov .edu ฯลฯ โดยที่แต่ละสกุล ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปดังนี้
- .com – เว็ปไซต์เชิงพาณิชย์ หรือเว็ปไซต์ทั่วไป เป็นสกุลที่ได้รับความนิยมและเป็นสากลมากที่สุด
- .net – เว็ปไซต์ที่เกี่ยวกับระบบ Network
- .org – เว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ (ย่อมาจากคำว่า Organization)
- .gov – เว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง รัฐบาล กระทรวง กรม ต่าง ๆ ที่มีบทบาทในการบริหารประเทศ (ย่อมาจากคำว่า Government)
- .edu – เว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย (ย่อมาจากคำว่า Education)
ส่วน URL (Universal Resource Locator) คือ รายละเอียดที่อยู่ที่จะสามารถนำทางไปยังเว็ปไซต์แต่ละเว็ปไซต์ได้ หรืออธิบายง่าย ๆ ก็คือการรวมโดนเมนเว็ปไซต์ เข้ากับ ระบบรักษาความปลอดภัยของเว็ปไซต์หรือ SSL ให้กลายเป็นลิงก์ที่สมบูรณ์ที่จะสามารถนำพาไปยังเว็ปไซต์นั้น ๆ ได้นั่นเอง โดย URL จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
- ส่วนที่ 1 – ระบบรักษาความปลอดภัยของเว็ปไซต์หรือ SSL หรือ https
- ส่วนที่ 2 – ชื่อโดเมนเว็ปไซต์ ที่คุณตั้งขึ้นมา เช่น www.fastcommerz
- ส่วนที่ 3 – สกุลของเว็ปไซต์ เช่น .gov .edu . org .com
เซิฟเวอร์โฮสติ้ง คืออะไร ?
ว่าจะเป็นเว็ปไซต์ประเภทอะไร มีกี่หน้า มีคอนเทนต์มากหรือน้อยเพียงใด ก็ต้องมี Hosting เหมือนเป็นการเช่าพื้นที่ให้เว็ปไซต์ของคุณบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเช่าโฮสติ้งได้ ชำระค่าบริการเป็นรายปี ซึ่งราคาจะแตกต่างกันออกไปตาม ต้องการในการใช้งานจริงของแต่ละเว็ปไซต์
ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ เซิฟเวอร์โฮสติ้ง สำหรับเช่าพื้นที่เว็ปไซต์มากมาย เช่น InMotion Hosting,
GoDaddy, Hostinger, HostPapa, Cloudways, HostGator ฯลฯ
การออกแบบ เว็ปไซต์ ที่ดีควรมีเทคนิคอย่างไร ?
UX/UI
UX (User Experience) และ UI (User Interface) ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในการออกแบบเว็ปไซต์ให้สวยงาม โดยเป็นเรื่องของการออกแบบเว็ปไซต์ให้ตรงกับพฤติกรรมของผู้เข้าชมมากที่สุด เพื่อทำให้ผู้คนเหล่านั้นเกิดประสบการณ์ที่ดีในการเข้าชมเว็ปไซต์ ซึ่งนับว่าเป็นประตูบานแรกในการเริ่มเปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายมาเป็นลูกค้าของธุรกิจคุณ โดยหน้าที่ของการออกแบบด้วย UX/UI คือต้องออกแบบเว็ปไซต์ให้ผู้เข้าชมใช้งานได้ง่ายที่สุด ไม่สับสน การนำทางไปยังหน้าเว็บเพจอื่น ๆ ต้องชัดเจน สวยงาม และด้านเทคนิค ต้องทำให้เว็ปไซต์ไม่ค้าง ไม่โหลดช้า ตัวหนังสือตัวใหญ่สวยงาม และทำให้เว็ปไซต์ดูน่าเชื่อถือ
การใช้ เว็ปไซต์คู่สี เติมแต่งเว็ปให้สวยงาม
เมื่อออกแบบด้านประสบการณ์การใช้งานแล้ว ก็ต้องมาทำเว็ปไซต์ให้สวยงาม ซึ่งจะต้องอาศัยความสามารถด้านการออกแบบพอสมควร โดยเราแนะนำว่าควรใช้ เว็ปไซต์จับคู่สี เพื่อทำให้คุณได้รู้ว่าถ้าเลือกใช้ สีนี้เป็นโทนหลักของเว็ปไซต์ ส่วนอื่น ๆ ของเว็ปไซต์จะต้องตกแต่งด้วยสีอื่น ๆ สีอะไรบ้าง ที่จะทำให้เว็ปไซต์ดูสวยงาม ไม่ลายตา เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้เข้าชม
โดยเว็ปไซต์จับคู่สีในปัจจุบัน ก็มีให้เลือกใช้งานกันแบบฟรี ๆ มากมาย ทั้งสะดวกและรวดเร็ว เช่น BrandColors, ColorSpace, Canva Palette Generator ฯลฯ
การใช้เว็ปไซต์แจกรูปฟรี ตกแต่งเว็ป
รูปภาพประกอบเว็ปไซต์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้ผู้เข้าชมเว็ปไซต์เห็นภาพตาม และเข้าใจผลิตภัณฑ์/บริการ ของธุรกิจคุณมากขึ้น แต่ถ้าในกรณีที่ธุรกิจคุณอาจไม่ได้เตรียมรูปถ่ายไว้ หรืออาจมีแต่ถ่ายไม่สวยงาม ดูไม่มีความเป็นมืออาชีพ การเลือกใช้ เว็ปไซต์แจกรูปฟรี ตกแต่งเว็ป ก็เป็นอีกตัวเลือกที่เราแนะนำ เพราะจะทำให้คุณได้รูปภาพที่สวยงาม จากช่างภาพมืออาชีพ มาใช้ในการตกแต่งเว็ปไซต์อย่างถูกลิขสิทธิ์ 100% เช่นเว็ปไซต์ Shutterstock, Freepik, Pexels, Pixabay ฯลฯ ซึ่งมีทั้งแบบฟรีและแบบเสียค่าบริการ
การแต่งเว็ปโดยคำนึงถึง Mobile Friendly
เพราะในปัจจุบัน ผู้ใช้งานเว็ปไซต์จะเข้าถึงผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย ไม่ได้มีแค่เครื่องคอมพิวเตอร์, โน๊ตบุ๊ค เสมอไปเหมือนแต่ก่อน แต่สามารถเข้าถึงได้ผ่าน โทรศัพท์สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต ดังนั้นการออกแบบเว็ปไซต์ที่ดี ต้องออกแบบด้วยหลักการ Mobile Responsive Design หรือออกแบบให้รองรับการใช้งานผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนด้วย เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็ปไซต์ผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลายของผู้ใช้งาน
ออกแบบโลโก้
นอกจากเว็ปไซต์แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่บ่งบอกเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของธุรกิจคุณได้ก็คือ โลโก้ ของธุรกิจ ซึ่งควรต้องมีอยู่ในส่วนบนสุดของเว็ปไซต์ทุกเว็ปไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็นว่า พวกเขากำลังเข้าชมเว็ปไซต์อะไร หรือเว็ปไซต์ของธุรกิจที่ชื่อว่าอะไรอยู่ เป็นปัจจัยเล็กน้อยที่ช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ของผู้ใช้งานผ่านการเข้าชมเว็ปไซต์ได้
ตัวอย่างเว็ปไซต์สวยๆ
การทำ Marketing ภายในเว็ปไซต์
การทำ SEO
การทำ SEO คือเทคนิคสำคัญในการทำ Digital Marketing ภายในเว็ปไซต์ ที่เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้เว็ปไซต์ของคุณถูกค้นหาเจอผ่าน Search Engine เช่น Google, Yahoo หรือที่เรียกว่า ติดหน้าแรก ได้ดีขึ้น ผ่านการทำ On Page และ Off Page ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่นการออกแบบเว็ปไซต์ การเลือกใช้ Keyword ที่เกี่ยวข้องและเหมาะสมกับธุรกิจคุณ การทำเว็ปไซต์ให้โหลดได้เร็วขึ้น การตั้งชื่อ Title หรือ Meta Description ให้น่าสนใจและมี Keyword การทำ Backlink ฯลฯ
ซึ่งการทำ SEO นั้นต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญในการทำงาน รวมถึงเวลา คู่แข่ง และอื่น ๆ อีกหลายปัจจัยที่จะทำให้ SEO ประสบความสำเร็จ เลยแนะนำว่าหากคุณเป็นเว็ปไซต์ที่เปิดใหม่ หรือมีคู่แข่งเยอะ ควรเลือกใช้บริการ เอเจนซี่รับทำ SEO มืออาชีพ ในช่วงแรกก่อน เพื่อให้ทางเอเจนซีเหล่านั้นวางโครงสร้างและกำหนดเทคนิคในการทำ SEO ที่ถูกต้องให้คุณก่อน จะเห็นผลลัพธ์ที่เป็นชิ้นเป็นอันและรวดเร็วกว่าทำเองโดยไม่มีความรู้
การใช้เว็ปยิงแอด SEM
การใช้เว็ปยิงแอด SEM ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยทำให้เว็ปไซต์ของคุณถูกเข้าถึงได้มากขึ้น ผ่านการค้นหาในหน้า Search Engine เหมือนกับการทำ SEO แต่การทำ SEM นั้นจะเป็นการยิงแอด ซื้อพื้นที่การค้นหาของ Keyword ที่คุณต้องการ ซึ่งวิธีนี้ช่วยให้เว็ปไซต์คุณติดหน้าแรก Google ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอเวลา เหมือน SEO แค่จ่ายเงินก็ติดหน้าแรกได้ทันที ช่วยให้มีผู้เข้าถึงเว็ปไซต์มากขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณา
ปัญหาที่อาจพบได้สำหรับการทำเว็ปไซต์
หน้า 404 not found
หน้า 404 not found คือ หน้าที่จะปรากฏขึ้นบนเว็ปไซต์เมื่อไม่พบข้อมูลอยู่ใน Server ของเว็ปไซต์นี้ หรือไม่พบ URL ของหน้าเว็ปไซต์นี้ หรือที่เรียกว่า ลิงก์เสีย ซึ่งเกิดจากการที่ ระบุ URL ปลายทางของเว็ปไซต์ผิด ไม่ได้ต่อ Hosting ของเว็ปไซต์ หรือไม่ได้กรอกปลายทางในหน้าแรกของเว็ปไซต์ โดยการปล่อยให้เว็ปไซต์มีหน้า 404 not found ถือว่าเป็นผลเสียต่อเว็ปไซต์ทั้งด้านประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชมเว็บ และยังทำให้คะแนนในการทำ SEO ตกไปด้วย
ซึ่งวิธีในการแก้ไขนั้นสามารถทำได้ด้วยการทำ 301 Redirect หรือการเปลี่ยนเส้นทางของ URL หนึ่งไปยังอีก URL หนึ่ง อย่างถาวร ซึ่งต่อให้ผู้ใช้งานกรอก URL ผิด ระบบก็จะนำพาไปยังปลายทางเว็ปไซต์ที่ถูกต้องได้
เว็ปดาวน์โหลดช้าแก้ไขยังไง
เว็ปไซต์ดาวน์โหลดช้า ก็เป็นปัญหาที่เว็ปไซต์ส่วนใหญ่จะพบเจอ แน่นอนว่าปัญหานี้ก็ส่งผลเสียหลายอย่างต่อธุรกิจและเว็ปไซต์ ทำให้ผู้ใช้งานหงุดหงิด กดออกไปโดยที่ไม่รอ เกิดประสบการณ์ไม่ดีในการใช้งาน และเรื่องของความเร็วเว็ปไซต์ ก็เป็นสิ่งสำคัญในการทำ SEO ด้วย เพราะถ้าเว็ปไซต์ดาวน์โหลดช้า Google ก็จะประเมินคะแนน SEO ให้ต่ำ และทำให้เป็นเรื่องยากในการที่เว็ปไซต์ของคุณจะไปติดหน้าแรก
ซึ่งต้นตอของปัญหาเว็ปไซต์โหลดช้า ส่วนใหญ่จะเกิดจาก รูปภาพ หรือ วิดีโอในเว็ปไซต์ของคุณมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่เกินไป จนต้องใช้เวลาในการดาวน์โหลดนานขึ้นจนช้า วิธีแก้ไขนั้นก็ง่าย ๆ เพียงแค่คุณทำการ ย่อไฟล์รูปภาพ, วิดีโอ ก่อนการใช้งานในเว็ปไซต์ ซึ่งในปัจจุบันก็มีเว็ปไซต์ในการช่วยลดขนาดไฟล์รูปมากมาย ที่ทั้งฟรี สะดวก และรวดเร็ว เช่น TinyPNG, ImageOptimizer เป็นต้น
เว็ปไซต์โดนจู่โจมบ่อย
เว็ปไซต์โดนจู่โจมบ่อย คือการที่เว็ปไซต์ของเราโดนแฮ็คจากผู้ไม่หวังดี เพื่อการขโมยข้อมูลสำคัญ เป็นอีกปัญหาที่พบเจอได้บ่อย ซึ่งเกิดจากการที่คุณใช้ Hosting ที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้ เว็ปไซต์ไม่ปลอดภัย หรือเลือกใช้แพลตฟอร์มในการสร้างเว็ปไซต์ที่ไม่มีมาตรฐาน วิธีแก้ของปัญหานี้ก็คือการเลือกใช้แพลตฟอร์มในการสร้างเว็ปไซต์ที่มีคุณภาพ มีระบบความปลอดภัยสูง เช่น WordPress, Webflow ที่ต้องอัปเดตระบบความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
และควรทำ HTTPS ให้เว็ปไซต์มีการเข้ารหัสในการรับ-ส่งข้อมูล ทำให้โดนแฮคได้ยากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันก็มีตัวช่วยในการทำ HTTPS ที่ง่ายและฟรี อย่าง Cloudfare ที่สามารถทำให้เว็ปไซต์ของคุณมีระบบความปลอดภัยสูงขึ้นได้