Fastcommerz

10 เทคนิคการตลาด FoMo (Fear of Missing Out) เทรนด์การตลาดยุคใหม่ห้ามพลาด

FoMo แปลว่า Fear of missing out เป็นอาการจิตเวชชนิดหนึ่ง มีอาการก่อให้เกิดหวั่นกลัว ระแวงตัวเองตกกระแสเทรนด์บนโลกออนไลน์ หรือ กลัวพลาดโอกาสพิเศษที่ตัวเองมีสิทธิ์ที่ได้รับ โดยโรคชนิดนี้สามารถพบได้ในคนทั่วไป ซึ่งนักการตลาดได้เห็นประโยชน์ของอาการ FoMo นี้นำไปเป็นกลยุทธ์การตลาด เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจผู้บริโภค หันกลับมาอุดหนุนการใช้บริการมากขึ้น

แล้ว FoMo meaning ที่แท้จริงในความหมายการตลาดคืออะไร? สามารถช่วยเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์อย่างไรบ้าง? ทาง Fastcommerz เว็บ Sale Page สำเร็จรูปพร้อมให้รายละเอียด FoMo อย่างลึกซึ้งได้ในบทความนี้

FoMo คืออะไร เป็นกลยุทธ์ช่วยส่งเสริมการเพิ่มยอดขาย ได้อย่างไรบ้าง

Fear of Missing Out หรือ FoMo คือ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์โดยมีลูกเล่นใช้อารมณ์ผ่านตัวอักษร , CTA หรือลูกเล่นอื่น ๆ ประกอบในคอนเทนต์ เพื่อระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายที่กำลังรับชมรู้สึกห้ามพลาดกับกิจกรรม FoMo เช่น เทรนด์ มีม และไวรัลที่ตกเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ แล้วดึงแคมเปญเรียลไทม์ (Real-Time) เหล่านี้ เป็นสื่อ FoMo เชื่อมโยงกับสินค้าบริการภายในแบรนด์ของคุณ ให้เกิดการเพิ่มยอดขายแบบง่าย ๆ

ประเภทความแตกต่างของ FOMO

กลยุทธ์ Fomo ได้แบ่งประเภทหลักๆ ออกเป็น 4 วิธีการ เพื่อเป็นเทคนิคการเพิ่มยอดขายและการเติบโตธุรกิจของคุณได้ดียิ่งขึ้น ดังนี้

FOMO Urgency

FOMO Urgency คือ กลยุทธ์การยื่นข้อเสนอแก่ผู้ซื้อ ด้วยการโปรโมทสินค้าบริการที่เพิ่มโอกาสให้พวกเขาชำระเงินทันที ตัวรูปแบบ Fomo ประเภทนี้ สามารถพบเจอได้บน ข้อความ ป้ายโฆษณา หรือคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มโซเชียล โดยเทคนิคนี้จะนิยมสร้างแคมเปญแบบจำกัดเวลาในการสร้างยอดขายในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น เฉพาะวันนี้ , วันสุดท้าย , มีสินค้าจำนวนจำกัด เพื่อกระตุ้นผู้ซื้อรู้สึกต้องคว้าผลิตภัณฑ์ในช่วงราคาพิเศษ ลด แลก และแจกแถมให้ได้กำไรมากที่สุด

FOMO Social Proof

FOMO Social Proof คือ การตลาดรีวิวเพื่อกระบอกเสียงโซเชียล เป็นหลักการพิสูจน์การใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการจากแบรนด์ตัวนี้ มีฟังก์ชันการใช้งานในระดับที่ดี ปานกลาง หรือปรับปรุง เพื่อให้ผู้กลุ่มเป้ายหมายที่พบเจอ สามารถนำข้อมูลส่วนนี้ไปประกอบการตัดสินใจอุดหนุนสินค้าหรือไม่ในภายหลัง 

ซึ่งหลักการตลาด Fomo ฉบับนี้ เป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อและผู้ทำธุรกิจทั้งสองฝ่าย เมื่อผู้จะซื้อเห็นรีวิวอาจไม่ตัดสินใจเพราะไม่ตรงตามความต้องการของพวกเขา ส่วนในมุมมองของผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงสินค้า คอนเทนต์ ในการโปรโมทสินค้าครั้งต่อไปได้ดียิ่งขึ้น

FOMO Time Limit

Fomo Time Limit ฉบับใช้เวลาเป็นตัวแปรในการสร้างยอดขาย เพื่อเสนอผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าลงทุนซื้อสินค้าในราคาที่คุ้มที่สุดกว่าวันอื่นๆ โดยวิธีการนี้ มักนิยมสร้างแคมเปญที่จบภายใน 1 วัน เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ซื้อ จำนวนสินค้าให้ได้มากที่สุด สามารถเห็นตัวอย่างการทำกลยุทธ์ FOMO นี้จากออนไลน์ช้อปิ้งของ Shopee ที่เสนอแคมเปญมหกรรมลดราคาอย่าง 9 เดือน 9 ที่ผ่านมาในเดือนกันยายน

FOMO แบบกลัวเสียโอกาส

FOMO feeling of missed opportunity หรือกลยุทธ์เล่นความรู้สึกของผู้บริโภคให้กลัวเสียโอกาส ที่ใช้คำพูดหรือข้อความในคอนเทนต์ผู้สนใจตระหนักข้อเสนอดีๆ เช่น ซื้อสินค้าครบตามจำนวนนี้ แถมค่าส่งฟรี หรือ ซื้อครบตามจำนวนยอด แถมผลิตภัณฑ์ฟรีๆ โดยไม่บวกราคาเพิ่มใดๆ ซึ่งกลยุทธ์ Fomo นี้ มักพบเจอแคมเปญในช่วงเวลาวันหยุดหรือเทศกาลต่างๆ 

แนะนำ 10 เทคนิค FoMo Marketing ที่นักการตลาดห้ามพลาด

โดยทั่วไปกลยุทธ์ Fear of Missing Out เป็นวิธีเล่นอารมณ์กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อดึงดันพวกเขากลายเป็นลูกค้าประจำแบรนด์ในที่สุด ดังนั้น ทาง Fastcommerz มี 10 เทคนิคการสร้าง FoMo ง่าย ๆ ที่นักธุรกิจสาย Startup สามารถทำได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้

1.บีบด้วยเวลา ให้ลูกค้ารู้ว่า คุณกำลังพลาดโอกาสสำคัญอยู่ 

 

หนึ่งในการทำคอนเทนต์โดยใช้กลยุทธ์ FoMo มาประยุกต์นิยมใช้มาก ๆ คือ การระเบิดเวลา เนื่องจากการใช้ FoMo ย่อมเอากระแสในเวลาแบบเรียลไทม์ เพื่อเรียกกลุ่มเป้าหมายมาทำยอดปิดยอดขายให้ได้มากสุดในช่วงเวลาที่ยังเป็นเทรนด์อยู่ ดังนั้นการใช้ FoMo แบบบีบเวลา เหมือนเป็นชนวนนับถอยหลังให้กลุ่มบริโภคที่ได้เห็น รู้สึกเป็นช่วงวินาทีที่สำคัญมาก ๆ พวกเขาพร้อมที่จะควักเงินออกมา เพื่อรับสินค้าบริการที่มีมูลค่าในเวลาจำกัดนี้ ไปเป็นของตัวเองให้ได้ในที่สุด 

2.การใช้ Social Proof หลากหลายสื่อเป็นกระบอกเสียง

การมียอดจำนวนผู้ใช้สินค้าหรือบริการจากแบรนด์ของคุณจริง จะทำให้การใช้ FoMo มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อกลุ่มเป้าหมายเห็นคอนเทนต์จากแบรนด์ที่ไม่รู้จักมาก่อน ย่อมตั้งข้อสงสัยเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นการใช้ FoMo สำหรับรีวิวในการใช้แบรนด์จากผู้ใช้งานจริงเป็นจำนวนมาก ยิ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงยิ่งดี จัดเป็นการสร้างความเชื่อมมั่นให้กลุ่มเป้าหมายที่รับชม รู้สึกมั่นใจและพร้อมยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ของคุณ 

3.การให้คนดัง หรือ Influencer มีส่วนร่วมสนับสนุนให้แบรนด์มีมูลค่ามากขึ้น

การให้คนดังช่วยเป็น FOMO

บุคคลที่สามารถสร้างกระบอกเสียงให้กับแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นดารา คอนเทนต์ครีเอเตอร์ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงในด้านอุตสาหกรรมเฉพาะ ย่อมเป็นรากฐานสนับสนุนการทำ FoMo ให้แบรนด์ดูดี มีคุณภาพ และมีมาตรฐาน
เพราะ Influencer ช่วยเป็นตัวกลางสื่อสารคอนเทนต์ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะไลฟ์สไตล์คล้ายคลึงกับพวกเขาอยู่แล้ว สามารถดึงมาเป็นลูกค้าในอนาคตได้ในที่สุด แต่ข้อควรระวังการใช้ Influencer ให้ถูกคน ควรเลือกบุคคลที่มีบุคลิก ที่มีลักษณะนิสัยใกล้เคียงกับแบรนด์มากที่สุด ไม่อย่างนั้นการทำ FoMo อาจสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผิดกลุ่ม ซึ่งนำไปสู่การขาดกำไรที่สูญเปล่าได้

4.ให้ของแถม เพื่อสร้างความพึงพอใจกับผู้อุดหนุน

การแจกของแถมทำ FOMO

การทำ FoMo ฉบับให้ของแถมหลังจากการบริการหลังขาย ช่วยทำให้ลูกค้ารู้สึกดีกับการอุดหนุนแบรนด์ของคุณ และอาจทำให้ลูกค้าเหล่านี้กลับมาอุดหนุนอีกครั้ง โดยการให้ของแถมสามารถใช้กลยุทธ์ FoMo เพื่อประยุกต์คอนเทนต์ตามกระแสฮิตให้เกิดการเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างนั้นของแถมที่ให้กับลูกค้า ควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีรูปลักษณ์ที่ดูดี สามารถต่อยอดการใช้งานแก่ลูกค้าได้ในระยะยาว เพราะการมีของแถมที่สามารถใช้งานได้นาน จะทำให้ลูกค้ารับรู้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น

5.ใช้คำที่กระตุ้นข้อความ FOMO ให้เกิดการตัดสินใจซื้อเร็วมากขึ้น

 กระตุ้น FOMO ด้วยคำพูด

การเลือกคำพูดสำหรับการสื่อสารของ FoMo เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยทำให้ผู้อ่านเกิดการตัดสินใจซื้อได้แบบง่าย ๆ ยกตัวอย่างคำพูดยอดฮิต เช่น นี้คือโอกาสสุดท้าย, เวลาใกล้หมดแล้ว , สินค้าเหลือน้อย และข้อความอื่น ๆ ที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ซื้อเกิดพฤติกรรม กลยุทธ์การทำ FoMo ช่วยให้ลูกค้าอยากคว้าครองมูลค่านี้ไว้ เพื่อรับสิทธิพิเศษที่มีจำนวนจำกัด เพราะโอกาสนี้ไม่มีใครอยากพลาด หากพลาดแล้วอาจไม่ได้รับอีกเลย

6.ลองใช้สีในการกระตุ้น เพิ่มจุดสนใจให้ลูกค้าโฟกัสตัวอักษรเป็นจุดแรก

 การใช้สีสรรค์ FOMO

การลองใช้สีเข้มลงบนตัว อักษร ที่มีการใช้กลยุทธ์ FoMo ร่วมประกอบ จึงเป็นเทคนิคกระตุ้นอารมณ์ให้ผู้อ่านทำการโฟกัสตัวอักษรสีเข้มเป็นพิเศษ เช่นการใช้สีแดง ตรงคำว่า You Are Missing Out เป็นสีเข้ม หรือสีโทนร้อน จัดเป็นสีสันที่ช่วยดึงดูดความสนใจ มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคนให้ถูกเบี่ยงเบนความสนใจเป็นเลือกการมองคอนเทนต์ตัวแรก

7.การมี DeadLine ที่ชัดเจน ช่วยสร้างยอดขายถล่มทลายมากกว่าเดิม

การมี DeadLine ใน FoMo ช่วยทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเตรียมตัวความพร้อมสำหรับการเปย์สินค้าหรือบริการที่มีราคาสิทธิเศษ มีส่วนลด สามารถจ่ายในราคาที่ถูกกว่าวันปกติได้เพียงวันนี้เท่านั้น หากเลยเวลาเที่ยงคืนไป คุณจะไม่ได้ซื้อในราคาที่ถูกกว่านี้อีกแล้ว FoMo จึงเป็นกลยุทธ์ที่บีบบังคับให้ผู้บริโภคต้องรีบซื้อโอกาสนี้ หากโชคดีคุณอาจจะได้เจอลูกค้าที่เตรียมเงินเยอะพร้อมจ่ายหนักสำหรับโปรโมชันนี้อีกด้วย

8.เทคนิค FoMo ผสม Cross-Selling และ Up-Selling

ลดราคามันไม่พอ ก็เพิ่ม หรือขายเป็นเซ็ตก็ยิ่งคุ้มกว่า ด้วยการนำวิธีการตลาด FoMo ผสมกับกลยุทธ์ Cross-Selling ที่ช่วยเพิ่มยอดขาย โดยการกระจายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคทำการซื้อไว้ ให้มัดรวมเป็นแพจเกจเซทราคาย่อมเยาว์ เพราะ FoMo ช่วยทำให้สินค้าดูมีมูลค่าสูงจนทำให้เหล่าผู้ซื้อต้องควักเก็บไว้ อีกทั้งมีวิธี Up-Selling ที่ช่วยเพิ่มสินค้ามีปริมาณมากกว่าขนาดกว่าเก่าด้วย ก็สามารถดึงดูดให้ลูกค้าซื้อสินค้าในราคาที่เพิ่มเงินไม่กี่บาท

9.โชว์ยอดจำนวนผู้ชมสินค้าในปัจจุบันแบบเรียลไทม์

การดูสินค้าในโลกออนไลน์ในปัจจุบัน จะคงเห็นได้ว่าหน้าต่างโชว์ผลิตภัณฑ์ จะมีจำนวนผู้คนกำลังมองสินค้าหน้านี้อยู่ โดยวิธีของ FoMo นี้จัดช่วยทำให้ผู้กำลังดูสินค้า สามารถรับรู้จำนวนผู้สนใจผลิตภัณฑ์ได้แบบเรียลไทม์ หากสินค้าที่กำลังดู มีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก จะทำให้ผู้ชมรู้สึกสินค้านี้กำลังติดเทรนด์ในโลกออนไลน์อยู่ นี่อาจเป็นโอกาสทองที่คว้ารายการตรงหน้าก่อนที่หมดลงไป แผน FoMo ฉบับนี้จัดเป็นวิธีกระตุ้นให้ผู้ชมสามารถตัดสินใจซื้อทันทีได้เป็นส่วนใหญ่ 

10.บอกแหล่งติดต่อ เพื่อให้ลูกค้าสามารถทราบข่าวสารได้โดยตรง

 การให้ข้อมูลติดต่อ

นอกจากจะมีคอนเทนต์การทำ FoMo ที่มีประสิทธิภาพ ก็อย่าลืมสร้าง FoMo สำหรับแหล่งติดต่อข่าวสารให้กับลูกค้าภายในแบรนด์อีกด้วย เพื่อเป็นช่องทางสื่อกลางประชาสัมพันธ์สำหรับอัพเดทสินค้าใหม่ ๆ สิทธิเศษสำหรับการใช้ในอนาคต ให้ลูกค้ารับทราบ และรับรู้เพื่อจะเก็บประโยชน์เพื่อตัวเองไว้ นอกจากจะทำให้แบรนด์มีการปฎิสัมพันธ์ที่ดีแก่ลูกค้า ยังช่วยเป็นข้อมูลวัดคุณภาพคอนเทนต์ในการพัฒนาแคมเปญ FoMo ให้ดียิ่งขึ้นในอนาคตอีกเช่นกัน 

นอกจากมี FOMO และยังมี JOMO อีกด้วยนะ

นอกจากจะมี FoMo (Fear of missing out) ที่เป็นส่วนหนึ่งการตลาดโดยใช้ความระแวงของจิตใจมนุษย์มาเป็นเครื่องมือการโปรโมท ประชาสัมพันธ์ และเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์แล้ว ยังมีกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมเป็น Joy of missing out เพื่อออกห่างจากโลกออนไลน์ที่เป็นกระแสอีกด้วย โดย Jomo คือ อารมณ์รู้สึกมีความสุขที่หลุดพ้นจากการเกี่ยวพันกระแสบนโลกออนไลน์ โดยเอาเวลาติดกระแสของ FoMo มาโฟกัสตัวของตัวเองเป็นหลัก

คุณสามารถใช้ Sale Page เป็นตัวกระตุ้น FOMO ได้

ถ้าคุณอยากใช้กลยุทธ์ FoMo ทำคอนเทนต์ให้มีประสิทธิภาพ ลองใช้เว็บ Sale Page ของ Fastcommerz เว็บไซต์การทำการตลาดออนไลน์ยุคใหม่ ที่ขับเคลื่อนการทำงานแบบ Marketing Automation มีคุณสมบัติการเพิ่มยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการทำคอนเทนต์โปรโมทสินค้า การนำสินค้า Up Selling หรือการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ขายของออนไลน์ ขึ้นหน้าแรกของการเซิร์ดใน Google พร้อมมีระบบหลังบ้าน คอยคีย์ข้อมูลออเดอร์แบบมีระเบียบ พร้อมจบการขายโดยใช้เว็บหน้าเดียวขายของลากยาวจนถึงช่องชำระเงินโดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือโหลดหน้าใหม่ให้เสียเวลา

สรุป

การใช้ FoMo จัดเป็นจุดเริ่มต้นการทำการตลาดออนไลน์แก่ธุรกิจเริ่มต้นได้ดี แต่การทำกลยุทธ์ FoMo ให้ได้เกิดผลประโยชน์มากที่สุดคือการผลิตคอนเทนต์ FoMo ให้ถูกจังหวะ เหมาะสม และสอดคล้องเข้ากับรูปลักษณ์ของแบรนด์เป็นหลัก 

เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

News Update